กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังสร้างเสริมสุขภาพโดยเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 2562-L7572-02-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขตเมือง เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2562 - 15 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 99,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ ชูแป้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หลักสำคัญคือสุขภาพ หากบุคคลมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาสุขภาพอนามัย ซึ่งหลักๆของกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อันเป็นงานสาธารณสุขที่ครอบคลุมหลายมิติ เป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้ประชาชนมีความสามารถในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพตนเอง อันจะเป็นผลต่อสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต และทางสังคม ต้องยอมรับรับว่าการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชนเครือข่ายที่สำคัญที่ปฏิบัติงานเคียงคู่กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่เป็นผู้มีความสำคัญในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัย เป็นต้นแบบในการสร้างสุขภาพ โดยการสื่อสารสร้างสุขภาพ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน นำไปสู่การพัฒนาการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชน ครอบครัวและชุมชน การเป็นผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และนำบุคคลในครอบครัวปฏิบัติตาม เป็นบุคคลต้นแบบและเป็นแกนนำในการสร้างสุขภาพคนในครอบครัว และสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
      ทั้งนี้การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียด และโรคมะเร็งสาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการ และองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชน  โดยการเน้นให้มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บริโภคอาหารที่สุก สะอาดปลอดภัย ไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ให้กลุ่มที่เกิดขึ้น เป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชนในชุมชน ส่งเสริมให้ได้มีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร มีการดูแลตนเองทั้งทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆจะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคที่ถูกต้องเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ให้หลากหลายและพอเพียง งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นการลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว

        โดยที่ผ่านมาโดยบทบาทข้างต้น อสม.ก็ได้ปฏิบัติงานมาอย่างเข้มแข็งครอบคลุมทั้ง 45 ชุมชนของเขตรับผิดชอบเทศบาลเมืองพัทลุง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน และนำสิ่งดีๆด้านสุขภาพของชุมชนมาจัดแสดง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดนิทรรศการและเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ จึงจัด “โครงการ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพโดยเครือข่ายสุขาภาพภาคประชาชน เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562” เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันการเกิดโรค และส่งเสริมการทำกิจกรรมสุขภาพที่ต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สำรวจข้อมูลกิจกรรมสุขภาพ และข้อมูลสุขภาพของชุมชน
  • อสม.มีข้อมูลสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบที่เป็นปัจจุบัน
  • มีชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพของชุมชน
0.00
2 มหกรรมสุขภาพ เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเทศบาลเมืองพัทลุง

-มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่กิจกรรมสุขภาพ ผ่านช่องทางสื่อซุ่มสาธิตกิจกรรม

  1) ซุ้มแสดงผลการดำเนินงานสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข

  2) ซุ้มการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม

  3) ซุ้มอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารปลอดภัย

  4) ซุ้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  5) ซุ้มกิจกรรมบำบัดฟื้นฟูสุขภาพ

  6) ซุ้มรณรงค์ปลอดบุหรี่

  7) ซุ้มตรวจดัชนีมวลกาย, มวลกระดูก

  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 800 คน
  • มีคณะกรรมการประกวดคัดเลือก กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในงานมหกรรมสุขภาพเพื่อกำหนดเกณฑ์การ และการประกวด มาจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย

  - ภาครัฐ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขสุขอำเภอเมือง โรงพยาบาลพัทลุง และศูนย์แพทย์ชุมชน

  - ภาคท้องถิ่น จากเทศบาลเมืองพัทลุง สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด

  - ภาคประชาชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง

  - อื่นๆ เช่นกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ

0.00
3 พัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ
  • มีชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ม.ค. 62 - 8 ก.พ. 62 จัดทำแนวทางการดำเนินงาน โครงการ 0 0.00 -
28 ก.พ. 62 - 31 มี.ค. 62 มหกรรมสุขภาพเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเทศบาลเมืองพัทลุง 500 87,650.00 79,322.00
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 พัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ 0 11,250.00 -
1 - 15 ก.ย. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 -
รวม 500 99,400.00 1 79,322.00

1.จัดทำแนวทางการดำเนินงาน โครงการ รวมพลังสร้างเสริมสุขภาพโดยเครือข่ายสุขาภาพภาคประชาชน เทศบาลเมืองพัทลุง เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562

2.ประชุมคณะทำงานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขตเมือง เพื่อจัดทำโครงการ และจัดงานมหกรรมสุขภาพ

3.เสนอโครงการและแผนปฏิบัติการ เพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน

4.ประสานชุมชนและเครือข่ายสุขภาพ เพื่อเตรียมกิจกรรมสุขภาพที่ได้ดำเนินการในชุมชนมาร่วมจัดแสดง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในงานมหกรรมสุขภาพ

5.แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกวดคัดเลือกกิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

6.จัดมหกรรมสุขภาพ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่กิจกรรมสุขภาพ จัดเป็นซุ้มต่างๆ ดังนี้

  6.1 กิจกรรมซุ้มแสดงผลการดำเนินงานสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข   6.2 กิจกรรมซุ้มการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
  6.3 กิจกรรมซุ้มอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารปลอดภัย   6.4 กิจกรรมซุ้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  6.5 กิจกรรมซุ้มกิจกรรมบำบัดฟื้นฟูสุขภาพ
  6.6 กิจกรรมซุ้มรณรงค์ปลอดบุหรี่
  6.7 กิจกรรมซุ้มตรวจดัชนีมวลกาย, มวลกระดูก

7.มอบรางวัลบุคคล/ชุมชน ที่มีผลงานกิจกรรมสุขภาพเป็นที่ประจักษ์ในปี 2562

8.ส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับชุมชนที่มีผลงานเด่นด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพของชุมชน

9.สรุปผลการดำเนินงานจัดทำรูปเล่ม รายงานผลหน่วยสนับสนุนงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

พัฒนาชุมชนสร้างสุขภาพ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานตำบลคุณภาพชีวิต โดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิต ประชาชนเป็นเจ้าของสุขภาพและสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐด้านการดูแลระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 15:17 น.