โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ชุมชนหมู่บ้านในสวน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ชุมชนหมู่บ้านในสวน |
รหัสโครงการ | 2562-L7572-02-019 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนหมู่บ้านในสวน |
วันที่อนุมัติ | 22 กุมภาพันธ์ 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 26,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายจำแลง จันทรมณีวงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่สนับสนุนศาาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย พบว่าประชาชนมีแนวโน้มเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น คือ ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ได้มาตรฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 - 2561 ภาพรวมระดับประเทศพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ ดังนี้ 16.68 19.82 และ 24.57 ตามลำดับ
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการมีกิจกรรมแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เอง ซึ่งประโยชน์ของการนวดชนิดต่างๆ สามารถบำบัดอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายความเครียด ฯลฯ ลดการใช้ยาสารเคมีเองได้ การอบสมุนไพร ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น ลดอาการภูมิแพ้ ปวดเมื่อย และการประคบสมุนไพรช่วยลดอาการอักเสบฟกช้ำของกล้ามเนื้อ
จากสาเหตุดังกล่าว งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลพัทลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และตอบสนองความต้องการของชุมชน และต้องการประชาสัมพันธ์งานแพทย์แผนไทยครบวงจร โดยจัดทำโครงการส่งเสริมแพทย์แผนไทยรองรับ เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนใน 1 ชุมชน 1 ศูนย์การเรียนรู้แพทย์แผนไทย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพอย่างถูกวิธี กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะในการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้มีศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรเพื่อการศึกษาแก่ชุมชนและผู้สนใจ มีการจัดตั้งสวนสมุนไพรเพื่อการเรียนรู้แก่คนในชุมชนและผู้สนใจ |
0.00 |
- สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่มีแผนงานโครงการดำเนินการด้านสมุนไพรและความพร้อมของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่
- สำรวจสมุนไพรที่ประชาชนใช้มากที่สุดในชุมชน อย่างน้อย 10 ชนิด
- ชุมชนจัดทำแผนงานโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แพทย์แผนไทย
- เขียนโครงการสร้างความรู้ความรู้ ความเข้าใจในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ โดยไม่เกิดโทษ
- จัดประชุมการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรและการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ุ6. สรุปผลการประเมินโครงการจากการประชุมคืนสู่ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน
- ประชาชนในชุมชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยยาสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
- ประชาชนในชุมชนบ้านในสวนมีแหล่งการเรียนรู้ด้านสมุนไพร
- ประชาชนมีความรู้ ความทเข้าใจ และมีความพึงพอใจการบริการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 85
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 16:13 น.