กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. น้อย
รหัสโครงการ 62-L4131-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 17,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุนทรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้เจตคติและ พฤติกรรมทุกๆ ด้านแก่เด็กวัยเรียน รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพ แต่เนื่องจากโรงเรียนมีเด็กในชุมชนที่มาจากครอบครัวที่ต่างกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเมื่อมีนักเรียนคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เมื่อมาโรงเรียนก็มีโอกาสจะแพร่เชื้อโรคไปสู่นักเรียนคนอื่นๆ ได้ง่าย จากการเล่น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เมื่อเด็กป่วยเหล่านี้กลับไปบ้านย่อมมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคสู่บุคคลในครอบครัว และชุมชน โรงเรียนจึงเป็นสถานที่ที่สำคัญมากแห่งหนึ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค งานส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและการป้องกันโรค จึงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ต้องได้รับความร่วมมือในทุกภาคส่วน และต้องมีภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีสุขอนามัยที่ดี สามารถศึกษาเล่าเรียนได้เต็มศักยภาพ เกิดการเรียนรู้ด้านสุขภาพ ที่ถูกต้องและมีสุขนิสัยที่ดีติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ปลูกฝังเจตคติ เสริมสร้างทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งจัดการ ควบคุมปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “อสม.น้อย” ในโรงเรียนขึ้น เพื่อช่วยกันดูแลสุขภาพของเด็กในโรงเรียน และคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ ให้กับนักเรียนกลุ่ม อสม.น้อยในโรงเรียน

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่มีความรู้ และทักษะด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

80.00
2 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพ การป้องกันโรค และอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ร้อยละของ อสม.น้อยที่สามารถร่วมกิจกรรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น, อาหารปลอดภัยและโภชนาการ และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียนได้

100.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่ม อสม.น้อย และสร้างความเป็นจิตอาสาให้กับนักเรียนในโรงเรียน ในการทำงานด้านสุขภาพร่วมกับหน่วยงานในชุมชน

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นเครือข่าย อสม.น้อยในโรงเรียน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 17,050.00 1 17,050.00
8 ก.ค. 62 การอบรมให้ความรู้ อสม.น้อย 140 17,050.00 17,050.00
  1. ขั้นตอนเตรียมการ 1) เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดทำโครงการ
    3) ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อวิทยากร เพื่อดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนด 4) กำหนดวัน เวลาการจัดกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมและแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นตอนดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ การอบรมให้ความรู้ อสม.น้อย       - จัดอบรมบรรยายให้ความรู้ด้านวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น , โภชนาการและอาหารปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียน
    • การสาธิตและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการตรวจประเมินทางกายภาพด้านอาหารปลอดภัยในโรงอาหาร
    • การแต่งตั้งคณะทำงานทีมปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทีมอาหารปลอดภัย และทีมป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียน
      กิจกรรมที่ ๒ การปฏิบัติงานของคณะทำงาน อสม.น้อย ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่
    • คณะทำงานด้านสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน เพื่อเฝ้าระวังและร่วมทีมตรวจประเมินด้านอาหารปลอดภัยในโรงอาหาร ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อัยเยอร์เวง
    • คณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
    • คณะทำงานด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเป็นหน่วยปฐมพยาบาล หรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่    ในงานกีฬาชุมชน หรือกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
  3. ขั้นตอนการสรุปผลการดำเนินงาน       - จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.น้อยมีความรู้ และทักษะด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติงานสาธารณสุขภายในโรงเรียน และสามารถร่วมกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในงานด้านสุขภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้     2. นักเรียนและอาจารย์มีความรู้และทักษะในเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น,การป้องกันและควบคุมโรค,อาหารปลอดภัยและโภชนาการ รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน     3. โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง เป็นต้นแบบการดำเนินงานสาธารณสุขและการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดย อสม.น้อย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 17:35 น.