กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ
รหัสโครงการ 62-L8277-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคอกช้าง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 0.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอานูวา ยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่2 ของกระทรวงสาธารณสุข : การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ที่ดีของประชาชน กำหนดเป้าประสงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการมีส่วนร่วมและมาตรการทางสังคมที่เหมาะสม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้กำหมดกลยุทธ์หลัก คือ การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพขององค์กรภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพของชุมชน และกำหนดเป้าประสงค์คือ ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถบริหารจัดการชุมชนได้โดยในปี 2562 กำหนดเป้าหมายให้ชุมชนและหมู่บ้านมีการจัดการด้านสุขภาพ ร้อยละ100     กระบวนการพัฒนาให้ชุมชนและหมู่บ้านมีการจัดการด้านสุขภาพ จะนำไปสู่การที่ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเองและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ ด้านสุขภาพซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้กำหนดให้มีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสุขภาพ สู่ภาคีเครือข่ายชุมชนและประชาชน และกิจการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายชุมชน อาสาสมัคร สาธารณสุขในการจัดการด้านสุขภาพ โดยมุ่งหวังว่าองค์กรภาคีเครือข่ายที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และ ส่งเสริมสนับสนุน จะสามารถบริหารจัดการให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ งานสุขภาพภาค ประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้างในฐานะดูแลรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนบ้านคอกช้าง

 

0.00
2 2.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสุขภาพสู่ภาคีเครือข่ายชุมชน และประชาชน

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมพัฒนา และสนับสนุนเครือข่ายชุมชน อาสาสาธารณสุขในการจัดการด้านสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ       4.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติ       4.2 ประชุมปฎิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนิน       4.3 จัดเตรียมข้อมูลหลังคาเรือนพื้นฐาน
    ขั้นดำเนินการ       4.3 ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพและการจัดการสุขภาพสู่ภาคีเครือข่ายชุมชน และประชาชน           4.3.1 จัดการอบรมการจัดการสุขภาพภาคประชาชน/จัดตั้งคณะทำงานนักจัดการสุขภาพ           4.3.2 กิจกรรมการคัดกรอง และประเมินสุขภาพในประชาชน
          4.3.3 การวิเคาระห์ข้อมูลสุขภาพ (แยกประเทท)           4.3.4 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนสุขภาพ           4.3.5 การให้ความรู้ผ่านบทความทางสปอตวิทยุ           4.3.6 เผยแพร่ผ่าน Web paqe ของ รพ.สต.       4.4 ส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายชุมชน อสม.ในการจัดการด้านสุขภาพ           4.4.1 จัดทำแนวทาง/คู่มือการดำเนินงาน                 - แนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ                 - หลักสูตรการอบรม อสม.           4.4.2 การส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนเครือข่าย       4.5 การติดตามความก้าวหน้า           4.5.1 นิเทศติดตาม โดยรพ.สต.และงานสุขภาพภาคประชาชนสสจ.ยะลา           4.5.2 การประชุมติดตามความก้าวหน้า           4.5.3 การประชุมกรรมการบริหารกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชนเพื่อติดตามความก้าวหน้า     ขั้นประเมินผล
      4.6 การประเมินผล             4.6.1 จัดประเมินตามโปรแกรมประเมินผลHDC ในระดับจังหวัด             4.6.2 เก็บรวมรวบข้อมูลผลการประเมินนำเสนอระดับอำเภอ             4.6.3 การจัดทำฐานข้อมูลหมู่บ้านจัดการสุขภาพ             4.6.4 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน 1 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ภาคีเครือข่ายชุมชน และประชาชนได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพและการจัดการสุขภาพ 2.เครือข่ายชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนในการจัดการด้านสุขภาพ 3.หมู่บ้านจัดการสุขภาพ นำไปสู่การที่ประชาชนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2562 14:32 น.