กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการศึกษาผลของการใช้ SKT เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ๒๕๖๒

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศึกษาผลของการใช้ SKT เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L8291-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.ย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกานต์ อัจนารมย์วาท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“การมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขนั้นเป็นความต้องการ
และความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ทุกคนแสวงหาได้อย่างชอบธรรม สุขภาพอยู่ในตัวของคุณอยู่ในครอบครัว อยู่ในโรงเรียน สถานที่ทำงาน ในชุมชน นั่นคือ อยู่ในชีวิต” (ประเวศ วะสี, 2543) จากคำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าสุขภาพที่ดีนั้นเป็นที่ปรารถนาของทุกคนในสังคม เป็นสิ่งที่แสวงหาและสร้างมันขึ้นมาได้ด้วยตนเอง แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวส่งเสริมให้เกิดโรคและภัยสุขภาพให้แนวโน้มของอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กระบวนการเกิดโรคนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ    การแพร่กระจายของเชื้อโรค แค่มีปัจจัยที่เพียงพอ (Sufficient agent) ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้ ปัจจัยดังกล่าว เช่น ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด ภาวะอ้วน เป็นต้น
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดมีถึงร้อยละ 63 ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และมากกว่าร้อยละ 80 เป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา
สำหรับประเทศไทยพบว่ามีถึง 14 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มโรค NCDs และเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิต ของประชากรทั้งประเทศ โดยมีประชากรเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 73 ของการเสียชีวิต จากสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตซึ่งโรคในกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ความดันโลหิตสูง รวมทั้งในปัจจุบันประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลก (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข, 2555)
จากสถิติข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดตรัง พบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ.2561 เป็นจำนวนทั้งหมด 3,093 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.26 และผู้ป่วยเบาหวาน 1,184 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.42 รวมทั้งพบพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น
การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยแนวทาง 3อ 2ส ให้ห่างไกลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนสุขภาพที่นำลงสู่ชุมชน โดยจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลย่านตาขาว พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นปี      2560 จำนวน 1,110 และ 467 ราย ตามลำดับ ปี 2561 จำนวน 1,182 และ 479 ราย ตามลำดับ จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ พบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยแนวทาง 3อ 2ส
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จึงเล็งเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อศึกษาผลของ SKT ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถวิเคราะห์และแปรผลข้อมูลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมลดโอกาสเกิดโรคโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจ คัดกรองโรคโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต
  • ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเรื้อรัง ร้อยละ 80
0.00
2 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องสาเหตุ อาการ และภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
    โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และสามารถจำแนกระดับความรุนแรงได้ ร้อยละ 80
0.00
3 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมิน และแปรผลสภาวะสุขภาพได้ ร้อยละ 80
0.00
4 - เพื่อศึกษาผลของการทำสมาธิบำบัด SKT ต่อระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่า BMI วัดรอบเอว ระดับความดันโลหิต และค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง ร้อยละ 80
0.00
5 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 9,890.00 1 9,890.00
30 เม.ย. 62 ตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง/รณรงค์/ ประชาสัมพันธ์ /ฝึกอบรม /ให้ความรู้ 40 9,890.00 9,890.00
  • ระยะก่อนดำเนินการ   1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินการ   1.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติการจัดทำโครงการ   1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์โดยอสม., การประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน (เสียงตามสาย)   1.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจัดทำเครื่องมือโปสเตอร์ดูแลสุขภาพ
      1.5 จัดเตรียมแบบประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ
    • ระยะดำเนินการ 2.1 ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการ   2.2 ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) และให้บริการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ประเมินค่า BMI และวัดรอบเอว
        2.3 ประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ด้วยแบบสอบถามประเมินความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ   2.4 ดำเนินกิจกรรม   กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
          1) บรรยายให้ความรู้เรื่องสาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมสื่อประกอบการบรรยาย ได้แก่ Power point โดยวิทยากร
          2) ประเมินผลกิจกรรม โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการประเมินระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง และจำแนกตามปิงปองจราจร 7 สี
        กิจกรรมที่ 2 อบรมการใช้เครื่องมือโปสเตอร์ดูแลสุขภาพ     1) อบรมวิธีการใช้เครื่องมือโปสเตอร์ดูแลสุขภาพ พร้อมทั้งวิธีการแปลผล ซึ่งประกอบด้วย        2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป และส่วนที่ 2 การประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ ค่าระดับน้ำตาลในเลือด, ค่าระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย
      กิจกรรมที่ 3 บุคคลต้นแบบ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
        1) รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์จากบุคคลต้นแบบและร่วมแลกเปลี่ยนเคล็ดลับที่ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประสบความสำเร็จ กิจกรรมที่ 4 ประโยชน์คูณสองด้วย SKT (อ.อารมณ์+อ.ออกกำลังกาย)
          1) ให้ความรู้เรื่องสมาธิบำบัดด้วย SKT     2) สาธิตวิธีการทำสมาธิแบบ SKT ท่าที่ ๑ และ ๒
  • ระยะประเมินผล 3.1 ประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ด้วยแบบสอบถามประเมินความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ 3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการประเมินระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของตนเอง
    และจำแนกตามระดับของปิงปองจราจร 7 สี
    3.3 ติดตามผลการทำสมาธิ SKT จากการบันทึกและแปรผล ประเมินค่า BMI และวัดรอบเอว
    ค่าความดันโลหิต และค่าระดับน้ำตาลในเลือดลงในโปสเตอร์ดูแลสุขภาพหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
    3 สัปดาห์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินและแปรผลสภาวะสุขภาพได้ด้วยตนเอง และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยการใช้เครื่องมือโปสเตอร์ดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2562 16:04 น.