กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพ อสม. ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 62-L8291-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,832.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตราวรรณ พึ่งพานิช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (WHO, ๒๐๐๓) คาดการณ์ว่า จะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก ๔๐๐ ล้านคนใน พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็น ๕๗๐ ล้านคนใน พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ที่เป็นสาเหตุอันดับสี่ของโรคนับตามจำนวนปี ที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ (Years lived with disability: YLDs) และได้คาดการณ์ว่าใน ค.ศ. ๒๐๐๐ ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคข้อ เข่าเสื่อม ๑,๗๐๐ และ ๒,๖๙๓ คนต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน (Haq & Davatchi, 2011) คณะผู้เชี่ยวชาญโรคข้อขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization’s Scientific Group on Rheumatic Disease) ประมาณการว่า มีประชากร โลกที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีเป็นโรคข้อเสื่อมกว่าร้อยละ ๑๐ พบความชุกสูงสุดที่ข้อมือและพบในเพศหญิงมากกว่า เพศชาย (Pereira et al., ๒๐๑๑; Cooper et al., ๒๐๑๓;) กลุ่มนักวิชาการโรคข้อเข่าเสื่อม ยืนยันว่าอุบัติการณ์เริ่มพบใน ประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ ๔๕ ปี ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ ๕๐ เป็นกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๖๕ ปี ตำแหน่งของข้อที่มักพบการ เสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วยและการรับบริการ มากที่สุดคือ ข้อเข่า (Brooks, ๒๐๐๓; Zhang et al., ๒๐๑๐; Richmond et al., ๒๐๑๐) ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ อำเภอย่านตาขาว มีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีภาวะของข้อเสื่อมเพิ่มมากขึ้น โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับ น้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee) เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Adult and elderly group) เป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็น โรคข้อที่พบบ่อยที่สุด เป็น ๑ ใน ๑๐ โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ อันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ อีกทั้งมีผลกระทบสูง ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิด พยาธิสภาพของข้อเข่าอย่างไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้แล้ว การบำบัดแบบไม่ใช้ยา (Non-pharmacological treatment) และหรือการแพทย์แบบผสมผสาน (Complementary therapy) เป็นข้อเสนอที่ดีในการบำบัดที่ได้ผลดีที่สุด และเป็น ที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น (Primary knee osteoarthritis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงอยู่ในชุมชนจำนวนมาก โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเป็นผลที่มาจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานมาก เมื่อมีการใช้งาน ผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทาให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งในทางแผนไทยโรคข้อเข่าเสื่อมเปรียบได้กับโรคลมจับโปงเข่า โรคลมจับโปง คือโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหาร อากาศ น้ำ และเป็นเฉพาะที่เข่ากับข้อเท้านั้น แบ่งเป็น ๒ ชนิด ได้แก่
๑. ลมจับโปงน้ำ อาการปวดมาก บวม แดง ร้อน และมีน้าในข้อ ขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนขึ้นเสมอ
๒ .ลมจับโปงแห้ง อาการบวม มีความร้อนไม่มากนัก บางครั้งมีแดงเล็กน้อย แต่จะมีสภาวะหัวเข่าติด ขาโก่ง อาการปวดน้อยกว่าลมจับโปงน้า
ดังนั้น งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลย่านตาขาว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย...ใส่ใจข้อเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ขึ้น เนื่องจากพบอุบัติการณ์ของโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพ มีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจและประเมินอาการข้อเข่าเสื่อมได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการตรวจประเมินการอาการข้อ เข่าเสื่อมได้ ร้อยละ 80
0.00
2 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องยาสมุนไพรพอกเข่าและสามารถผลิตยาสมุนไพรพอกเข่าได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องยาสมุนไพรพอกเข่าและผลิตยาสมุนไพรได้ ร้อยละ 80
0.00
3 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ความรู้ไปดูแลด้านสุขภาพและให้บริการยาพอกเข่าเพื่อบำบัดอาการปวดแก่ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการบำบัดอาการปวดเข่าแก่ผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 80
  • ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวอาการปวดเข่าลดลง ร้อยละ 80
0.00
4 - เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติทำสมาธิบำบัด SKTและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติสมาธิบำบัดและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ร้อยละ 80
0.00
5 - เพื่อพัฒนานวัตกรรม “ยาสมุนไพรพอกเข่า” ให้ผู้ป่วยและญาติสามารถทำเองได้และมีความพึงพอใจในการใช้งาน
  • ผู้ป่วยและญาติสามารถผลิตยาสมุนไพรพอกเข่าได้ ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 60 14,832.00 14,832.00
รวม 60 14,832.00 1 14,832.00
  • ระยะก่อนดำเนินการ   1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินการ   1.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติการจัดทำโครงการ   1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, การประชาสัมพันธ์เทศบาล (เสียงตามสาย)   1.4 จัดเตรียมเอกสารความรู้ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อจัดทำคู่มือความรู้ และชุดสาธิต   1.5 จัดเตรียมแบบประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ
  • ระยะดำเนินการ   2.1 ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการ   2.2 ประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ด้วยแบบสอบถาม   2.๓ ดำเนินกิจกรรม   กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องภาวะเข่าเสื่อม     1) บรรยายให้ความรู้เรื่องสาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน การรักษา ฟื้นฟู ป้องกันข้อเข่าเสื่อม พร้อมสื่อประกอบการบรรยาย ได้แก่ Power point โดยวิทยากร     ๒) บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย สมุนไพรที่ใช้พอกเข่า และวิธีการทำยาพอกเข่าบำบัดอาการปวด     ๓) ประเมินผลกิจกรรม โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบประเมิน
      กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการยาพอกเข่า     1) ฝึกปฏิบัติในการเตรียมยาพอกเข่า กิจกรรมที่ 3 อบรมความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(สมาธิบำบัด)   1) ให้ความรู้เรื่องสมาธิบำบัด     2) สาธิต/ฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด
  • ระยะประเมินผล 3.1 ประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ด้วยแบบสอบถามก่อน-หลัง 3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติในการเตรียมยาสมุนไพรและพอกเข่าได้ 3.3 ติดตามผลการการรักษาผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมด้วยยาสมุนไพรพอกเข่า จากการบันทึกและแปรผล ประเมินระดับความปวดเข่าก่อน-หลังการรักษา 3 สัปดาห์ ๓.๔ ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดได้ถูกต้องและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
  • ระยะก่อนดำเนินการ   1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินการ   1.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติการจัดทำโครงการ   1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, การประชาสัมพันธ์เทศบาล (เสียงตามสาย)   1.4 จัดเตรียมเอกสารความรู้ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อจัดทำคู่มือความรู้ และชุดสาธิต   1.5 จัดเตรียมแบบประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ
  • ระยะดำเนินการ 2.1 ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการ   2.2 ประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ด้วยแบบสอบถาม   2.3 ดำเนินกิจกรรม   กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องภาวะเข่าเสื่อม     1) บรรยายให้ความรู้เรื่องสาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน การรักษา ฟื้นฟู ป้องกันข้อเข่าเสื่อม พร้อมสื่อประกอบการบรรยาย ได้แก่ Power point โดยวิทยากร     ๒) บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย สมุนไพรที่ใช้พอกเข่า และวิธีการทำยาพอกเข่าบำบัดอาการปวด     ๓) ประเมินผลกิจกรรม โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบประเมิน
      กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการยาพอกเข่า     1) ฝึกปฏิบัติในการเตรียมยาพอกเข่า กิจกรรมที่ 3 อบรมความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(สมาธิบำบัด)   1) ให้ความรู้เรื่องสมาธิบำบัด     2) สาธิต/ฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด
  • ระยะประเมินผล 3.1 ประเมินความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม ด้วยแบบสอบถามก่อน-หลัง 3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติในการเตรียมยาสมุนไพรและพอกเข่าได้ 3.3 ติดตามผลการการรักษาผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมด้วยยาสมุนไพรพอกเข่า จากการบันทึกและแปรผล ประเมินระดับความปวดเข่าก่อน-หลังการรักษา 3 สัปดาห์ ๓.4 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดได้ถูกต้องและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม สามารถประยุกต์ความรู้ไปดูแลด้านสุขภาพและให้บริการยาสมุนไพรพอกเข่าเพื่อบำบัดอาการปวดแก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2562 16:19 น.