กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง
รหัสโครงการ 62-l4143-01-44
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 98,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การจมน้ำของเด็กไทยปี 2561 กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุ  การเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน      (ปี พ.ศ.2551 – 2560) มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 9,574 คน และมีจำนวน การเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 334 คน บางปี  สูงถึง 456 คน/ปี กลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี เสียชีวิตสูงสุดร้อยละ 40.5 เด็ก 0 - 2 ปี ร้อยละ 20.0 โดยเฉพาะ  เพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว พบว่าเดือนเมษายนจมน้ำสูงสุดเฉลี่ย 121 คน อัตราป่วยตาย(Case Fatality Rate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 37.2 และจังหวัดยะลาจัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ต่อประชากรแสนคนในปี 2560 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 (แหล่งข้อมูล : ข้อมูลมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2561) จากข้อมูลเฝ้าระวังพบว่าเด็กมักจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆคน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการ  ตกน้ำ จมน้ำสูงที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งตำบลสะเตงนอกมีพื้นที่ติดแม่น้ำสายใหญ่ คือแม่น้ำปัตตานี และมี  ลำธาร คลอง บึง ฯลฯ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง เครือข่ายตำบลสะเตงนอกขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทและ  ส่วนร่วม ที่สำคัญในการผลักดันป้องกันการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ในการปฏิบัติตน ในการป้องกันการจมน้ำและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียน เจ้าหน้าที่ มีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพในการช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำ ร้อยละ 70

 

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่การป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง ร้อยละ 70

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 98,500.00 1 98,500.00
18 - 19 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ 100 98,500.00 98,500.00

1.เสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ และอนุมัติโครงการต่อผู้บริหาร
2.จัดตั้งคณะกรรมการการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเครือข่ายตำบล สะเตงนอก 3.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 4.สำรวจค้นหาข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมประจำ,ติดแม่น้ำปัตตานีคลอง,บึง 5.การจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือและป้ายเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง 6.อบรมแกนนำนักเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,เจ้าหน้าที่ เทศบาล,เจ้าหน้าที่FR,แกนนำหมู่บ้าน
7.ติดตาม ประเมิน และ สรุปผล 8.รายงานผลการดำเนินงานให้กับทางกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอกทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 70 แกนนำนักเรียน เจ้าหน้าที่ มีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพในการช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำ
2.ร้อยละ 70 เจ้าหน้าที่มีศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562 10:42 น.