กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 62-L5260-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ อาแด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.634,101.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดัน
10.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบา-หวาน
10.00
3 ร้อยละกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดัน เบา-หวาน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 203 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร โรคเรื้อรังนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปถึงโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน คือ "กรรมพันธ์ู" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธ์ุนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธ์ุจะเป็นสิ่งแก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ การรักษาโรคเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วย และผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสมำ่เสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ทางทีมผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน จึงได้ออกรณรงค์คัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน มีกลุ่มเป้าหมายจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,807 คน พบผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น จำนวน 317 คน โรคเบาหวานมีกลุ่มเป้าหมายจากการคัดกรองทั้งหมด 2,314 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้งสิ้น 194 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ปี 2562 โดยเน้นกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ยังเป็นแกนนำในการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ร้อยละ 10

โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงสามารถลดอัตรารายใหม่ ร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 20

โรคเบาหวาน/วามดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เปียน เพื่อจัดทำโครงการ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 4.นัดประชาชนกลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ 5.จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 6.สรุปผลการคัดกรองสุขภาพในประชาชนผู้มีภาวะเสี่ยงและกลุ่มป่วย 7.ส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป 8.ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 9.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ส่งเสริมการบรรลุตามมาตรฐานงานโรคเรื้อรัง ของการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3.กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับติดตามการประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562 15:12 น.