กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครัวเรือนน่าอยู่ ปลอดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L5260-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวต่วนมารีนา หนิจิบุลัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.634,101.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โรคได้แพร่กระจายไปเกือบทุกพื้นที่ทุกจังหวัด ทั่วประเทศมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษา จำนวน 57,129 รายเสียชีวิต 71 ราย โดยจังหวัดสงขลามีผู้ป่วย 1,096 ราย เสียชีวิต 2 ราย ในส่วนของอำเภอสะบ้าย้อย มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 77 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต     ในส่วนของ รพ.สต.เปียน ในปี 2561 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 6 ราย โดยมีมียุงเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธ์ุในพาชนะที่มีน้ำขังทั้งในบ้านและนอกบ้าน เชน โอ่ง อ่าง กะลา แจกัน และกระถางต้นไม้ เป็นต้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่อันตราย หากไม่ดำเนินการโรคให้ทันท่วงที อาจเป็นปัญหากระทบรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน     ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเร่งด่วน ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่จะควบคุมโรคให้ได้ผล ต้องอาศัยการประสานงาน การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ปฏิบัติงานในรูปของการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเชิงรุก คือการควบคุมและกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุง การกำจัดยุงลาย ทั้งกายภาพและเคมี รวมทั้งให้สุขสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ และเกิดทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกลดลงหรือไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยการสำรวจและควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุของยุงลาย และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายต่อภาชนะ Cl=0 และหลังคาเรือน Hl < 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ อสม.ผู้นำชุมชน 2.อสม.สำรวจครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ และร่วมโครงการ หมู่ละ 5 ครัวเรือน 3.จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการเพื่อออกติดตามครัวเรือนร่วมกับ อสม.แต่ละหมู่ 4.ดำเนินการตามโครงการ     4.1 ออกประเมินครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับ อสม.และผู้นำชุมชน     4.2 สรุปผลการประเมิน หมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน     4.3 อสม.และครัวเรือนที่ผ่านการประเมินเข้าร่วมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ร่วมกันทั้ง 5 หมู่บ้าน     4.4 ครัวเรือนที่ผ่านการประเมินรับประกาศนียบัตร 5.สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ให้ประชาชนในชุมชน มีความตระหนัก ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562 15:17 น.