กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพรู้จักตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อนรพ.สต.สาคร
รหัสโครงการ 62-L5290-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.4
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 14,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอลงกต หลังชาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ข้อมูลสถิติโรคไม่ติดต่อของจังหวัดสตูล พบอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑ เป็น ๔๙๓.๙๘,๕๖๕.๙๖ และ ๗๐๒.๐๗ ตามลำดับ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,๒๕๖๐) จากสถิติพบว่าอัตราป่วยของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นและจากการให้บริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร พบว่าอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๖๐ ร้อยละ ๔๘.๕๗,๔๐.๐๐,๓๔.๐๙, ๓๐.๙๕,๒๒.๕๐ และ ๑๘.๕๒ ตามลำดับ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมีความสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ลดลง และ อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๖๐ ร้อยละ ๓๙.๔๒,๔๙.๐๙,๔๕.๕๓,๔๘.๐๙,๖๓.๕๖ และ ๔๑.๔๖ตามลำดับ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมีความสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ลดลง ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการควบคุมระดับความันโลหิตสูง ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แก่ผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งครอบครัวและชุมชนจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ร่วมรับรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อสม.ม.๔ จึงได้จัดทำ โครงการ สร้างสุขภาพ รู้จักตนเอง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนขึ้นเพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันกลุ่มป่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,520.00 0 0.00
1 ธ.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมสร้างสุขภาพรู้จักตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อน 0 14,520.00 -

๑.กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจกิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเรื้อรัง การดูแลตนเองขณะเป็นโรคแก่ผู้ป่วยหลังจากสรุปปัญหาและปัจจัยเสี่ยงในการปฏิบัติตัวต่างๆประกอบด้วย การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรค พยาธิสภาพของโรค การดำเนินของโรค รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและประชาสัมพันธ์อาการแทรกซ้อนที่ต้องพบแพทย์ ๒.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน/ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี สำรวจพฤติกรรมตนเองในเรื่องการปฏิบัติตัวดูแลตนเองในแต่ละวันขณะอยู่บ้าน เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย วิเคราะห์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่านมา ๑ สัปดาห์ เพื่อให้ผู้ป่วยวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและร่วมกันสรุปปัญหาในแต่ละด้านของผู้ป่วยในภาพรวม ๓.ค้นหาบุคคลตัวอย่างในการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี ๔.สรุปและประเมินผลติดตามการปฏิบัติตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยการสุ่มตรวจและติดตาม จำนวน ๒ ครั้งห่างกัน ๒ สัปดาห์ โดยใช้วิธีการพูดคุยร่วมกับสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยในแต่ละครั้ง พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพิ่มเติมในรายที่ยังปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วย/ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๒.ร้อยละ ๔๐ ของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ๓.ร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความันโลหิตได้ดี ๔.ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๕.มีแนวทางพัฒนางานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง ๖.เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562 22:30 น.