กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว
รหัสโครงการ 62-L8291-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน เครือข่ายโรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 355,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเผดื่อง รักษศรี ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน เครือข่ายโรงพยาบาลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 9 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2558ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ใน พ.ศ.2564 กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จาการสำรวจของกรมอนามัย (2556) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ 13 รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางสภาพร่างกายหรือจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความรู้ ให้กำลังใจและการเยี่ยมติดตามแล้ว เพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังต้องให้การสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เนื่องจากครุภัณฑ์ดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง บางครอบครัวจึงไม่สามารถที่จะจัดซื้อได้ด้วยตนเองการมีแหล่งสนับสนุนครุภัณฑ์เหล่านี้ จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เทศบาลตำบลย่านตาขาว มีประชากรทั้งหมด 7,907 คน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2561) พบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 1,629 คน คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของจำนวนประชากร และจากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน
(ผู้ป่วยติดเตียง) จำนวน 20 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 9 คน มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ไม่สามารถจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ ทางการแพทย์ที่มีราคาสูง อาทิเช่น เตียงปรับระดับ ที่นอนลม รถเข็นได้ จึงจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปรากฏว่ามีไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับความอนุเคราะห์ครุภัณฑ์ดังกล่าว อีกทั้งจากการสำรวจยังพบอีกว่ามีผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 5-11 คะแนน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในอนาคต และแน่นอนว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐไม่ต่างกัน ด้วยเหตุดังกล่าวทางโรงพยาบาลย่านตาขาว จึงได้เห็นความสำคัญที่จะช่วยทำให้เกิด สุขภาวะและสภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
  • ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีภาวะแทรกซ้อนลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น
0.00
2 - เพื่อแบ่งเบาภาระทางด้านเศรษฐกิจของผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 9 355,000.00 1 155,200.00
1 - 30 ก.ย. 62 การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ 9 355,000.00 155,200.00
  • ลงพื้นที่สำรวจจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลย่านตาขาว
  • รวบรวมรายชื่อผู้ป่วยที่ต้องการการสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมทั้งรวบรวมรายการวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ต้องจัดซื้อ
  • สำรวจราคาวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จะจัดซื้อ
  • เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล ย่านตาขาว
  • จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ตามแผนที่ได้วางไว้ พร้อมทั้งนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย ในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว ที่ติดบ้านติดเตียง
  • ลงเยี่ยมเพื่อติดตามภาวะสุขภาพ พร้อมทั้งประเมินภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
  • สรุปและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เช่น แผลกดทับ ข้อติดแข็ง การติดเชื้อในระบบต่างๆของร่างกาย ตลอดจนภาวะขาดออกซิเจนจากการอุดตันของเสมหะในระบบทางเดินหายใจ ที่อาจเกิดได้ในผู้ป่วย ติดเตียงลดน้อยลง
  • ผู้ดูแลมีกำลังใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และความเครียดที่เกิดจากการต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2562 09:40 น.