กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 1 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 31,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายฝน หงนิพนธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานรักษาพยาบาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสอง และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ และระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมทางสุขภาพไม่เหมาะสมจากการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผักผลไม้น้อย) และการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง จากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป พ.ศ.2554 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่กว่า 300,000 ราย พบผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ เสี่ยงจะป่วยอีก 2.4 ล้านคน พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่กว่า 800,000 รายพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เสี่ยงจะป่วยอีก 3.7 ล้านคน และพบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนแล้วรวม 176,000 ราย (ไตเสื่อม 96,000 ราย มีปัญหาทางตา 50,000รายและมีอาการชาที่เท้าหรือเท้าเป็นแผล 30,000 ราย) และจากคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เทศบาลนครยะลา พบอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร คิดเป็นร้อยละ 1.71อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร คิดเป็นร้อยละ 28.97 อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 11.63 และอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 1.98
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครยะลาทั้ง 4 แห่ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรควิถีชีวิต จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครยะลาทั้ง 4 แห่ง เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนไปจนถึงลดการเสียชีวิตและการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถควบคุมโรค (ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด) ได้ตามเกณฑ์
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดโครงการให้ความรู้การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,540.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงและเตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ จำนวน 2 ครั้ง เป้าหมาย คณะทำงานศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 10 คน 0 500.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคติดต่อ ไม่เรื้อรัง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 90 คน 0 27,870.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเอง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 4 แห่ง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในแต่ละแห่งๆ ละ 5 คน รวม 20 คน รวมทั้งสิ้น 10 0 3,170.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเข้าถึงการบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 00:00 น.