กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2019 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเทือง อมรวิริยะชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนใน พ.ศ.2551เป็น 570 ล้านคนใน พ.ศ.2563 โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เป็นสาเหตุอันดับสี่ของโดรคนับตามจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ และได้คาดการณืว่าใน ค.ศ.2000 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 1,700 และ2,693 คนต่อประชากร 100,000 คน คณะผู้เชี่ยวชาญโรคข้อขององค์การอนามัยโลกประมาณการว่า มีประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเป็นโรคข้อเสื่อมกว่าร้อยละ10 พบความชุกสูงสุดที่ข้อมือและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ยืนยันว่าอุบัติการณ์เริ่มพบในประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มที่อายุมากกว่า 65ปี ตำแหน่งของข้อที่มักพบการเสื่อมได้แก่ ข้อเข่า สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้าแต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วยและการรับบริการมากที่สุดคือข้อเข่า   โรคข้อเข่าเสื่อมคือโรคที่เกิดจาการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อข้อซึ่งเป็นผลที่จากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกันทำให้เกิดอาการปวดเข่าตามมาวึ่งในทางแพทย์แผนไทยโรคข้อเข่าเสื่อมเปรียบได้กับโรคลมจับโปงเข่าเสื่อมคือโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหารอากาศน้ำ และเป็นเฉพาะที่เข่ากับข้อเท้านั้นแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ 1.ลมจับโปงน้ำอาการปวดมากบวมแดงร้อนและมีน้ำในข้อขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนขึ้นเสมอ 2.ลมจับโปงแห้งอาการมีความร้อนไม่มากนักบางครั้งมีแดงเล็กน้อยแต่จะมีสภาวะหัวเข่าติดขาโก่งอาการปวดน้อยกว่าลมจับโปงน้า ดังนั้น งานแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านชะรัด จึงได้จัดทำโครงการการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่าขึ้น เนื่องจากพบอุบัติการณ์ของโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพ มีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวและเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตยาพอกเข่าบำบัดอาการปวด และสามารถผลิตยาพอกเข่าโดยใช้สมุนไพรในท้องถิ่นได้ 2.เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการรใช้ยาสมุนไพร

1.กลุ่มผู้สูงอายุสามารถผลิตยาพอกเข่าใช้เองได้ ร้อยละ 80 2.เพิ่มการใช้ยาสมุนไพรคิดเป็นร้อยละ 20 ของยาแผนปัจจุบัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,300.00 0 0.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 วางแผน 0 9,300.00 -

1.ขั้นตอนวางแผน -วิเคราะห์ปัญหาสถานโรคข้อเข่าเสื่อมในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด -เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ -ประสานงานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน -จัดกิจกรรมอบรมการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า เชิงปฏิบัติโดยแพทย์แผนไทย   -อบรมความรู้เรื่องโรคเข่าเสื่อม การดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย   -อบรมการทำยาพอกเข่าสมุนไพร และฝึกทักษะการพอกเข่า   -อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน) -ติดตามผลการพอกเข่าและอาการปวดเข่าในกลุ่มผู้ป่วยทุก 3 เดือน -สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อเข่าได้รับบริการลดอาการปวดด้วยยาพอกเข่า โดยมีอาการปวดลดลง มากาว่าหลังการรับบริการ 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและญาติผู้ป่วยสามารถทำยาพอกเข่าเองได้และมีความพึงพอใจในการใช้งานเพิ่มขึ้น 3.อสม. ผ่านการอบรมและสามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาผลิตยาพอกเข่าได้ 4.ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และลดการใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อแก้ปวดลง(ชนิดรับประทาน ทาภายนอก)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2019 16:06 น.