กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีไทย ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L8405-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาณิศาน้อยสร้าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.03,100.537place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4697 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและใช้ความพยายามในการลดภาวะความรุนแรง ของโรคโดยมุ่งไปที่การป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ลดการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การจัดการด้านอารมณ์ ส่งเสริมด้านพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ (Diet)ลดอาหารหวานมัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้การเคลื่อนไหวร่างกายหรือการใช้แรงกาย (Physical Activity)ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน หรือ โรคอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อให้เป็นปัจจัยเอื้อต่อการควบคุมโรควิถีชีวิตภาวะน้ำหนักเกินอ้วนและอ้วนลงพุง มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมและพันธุกรร ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่รับประทานและการออกกำลังกายพบว่าคนไทยกินผักและผลไม้ต่ำกว่ามาตรฐาน คือ 500 กรัม/คน/วันส่วนการกินน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆขณะที่การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายในกลุ่มอายุ 15ปีขึ้นไปลดลง ปัจจุบันพบภาวะอ้วนและลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆประมาณว่าประชากรในประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีเส้นรอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยพบว่าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบว่าผู้อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท
การดำเนินงานเฝ้าระวัง และติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยการคัดกรองความเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังการสร้างความตระหนักถึงภัยร้ายของโรคพร้อมกับมาตรการการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดความเสี่ยงและลดการเกิดโรค ควรได้รับการสนับสนุน และเร่งรัดการดำเนินงานในทุกระดับ ตลอดจนสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันของบุคลากรทุกระดับ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ โดยเน้นให้ชุมชนสามารถจัดการลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อได้ด้วยตนเอง มาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้การลดอัตราการเกิดโรคลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่ายอื่น ๆในชุมชนให้สามารถจัดการปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การรณรงค์คัดกรองโรค

2 เพื่อให้มีการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมสุขภาพและให้บริการเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

3

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
    1. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานโครงการสุขภาพดีวิถีไทย ลดพุงและลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    2. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและจัดทำแผนการดำเนินงาน
    3. จัดทำแผนการปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย
    4. ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อร่วมกับหน่วยงานอื่น ขั้นดำเนินงาน 1.จัดประชุมชี้แจง การวางแผนในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ 2.ประสานแผนปฏิบัติงานร่วมกับทีมเครือข่ายในการจัดบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหมู่บ้าน
      ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ 3.จัดอบรม/ให้ความรู้แก่ แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญในการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องใน หมู่บ้าน
  2. กำหนดการจัดกิจกรรมการรณรงค์เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. จัดกิจกรรมเสริมทักษะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( 3 อ2ส )ในกลุ่มเสี่ยง(ปานกลาง)ด้วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเองรวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตลอดจนชุมชนมีศักยภาพเข้มแข็งในการดำเนินงานลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 09:22 น.