กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อัศวินน้อยปราบลูกน้ำยุงลายหมู่ที่ 3
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน ชมรม อสม.ม.3 บ้านหัวหรั่ง
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพิศ เหมรีนี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วย โรคไข้เลือดออกได้กลายเป็นโรคประจำถิ่น ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับคน (Host) มีการเดินทาง เคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา แหล่งรังโรค (Agent) ยุงลาย ก็มีการเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลาโดยการบินหาอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อมก็เอื้อให้เกิดการระบาดของโรค ซึ่งจากการทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด ปรากฏว่าโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาอันดับที่ 2 จากการจัดลำดับความสำคัญ และข้อมูลทางระบาดวิทยาของ รพ.สต.บ้านหัวหรั่ง ย้อนหลัง 5 ปี ปี 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ทั้งหมด 1 ราย คิดเป็น 91.66 ต่อแสนประชากร , ปี 2560 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ , ปี 2559 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ทั้งหมด 7 ราย คิดเป็น 662.88 ต่อแสนประชากร , ปี 2558 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ , ปี 2557 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่หมู่ที่ จากข้อมูลดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้ว่า โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องหากลวิธีในการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ให้มีการระบาดของโรคในพื้นที่ จากหลักการทางวิชาการว่าด้วยศาสตร์ทางระบาดวิทยา ระบุไว้ว่า มาตรการป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นหนทาง กลวิธี ยุทธวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 ตำบลชะรัด ร่วมกับภาคีเครือข่าย เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการอัศวินน้อยปราบลูกน้ำยุงลายขึ้นมา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชน และละแวกใกล้เคียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. ลดค่า HI ,CI ไม่เกินร้อยละ 10 ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติตัวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนชุมชน โรงเรียน ร่วมดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ถูกต้อง
  1. ค่า HI ,CI ไม่เกินร้อยละ 10
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 56 9,640.00 0 0.00
1 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ และพัฒนาทักษะการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 56 9,640.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน       1.1 ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหัวหรั่ง หมู่ที่ 3 ตำบลชะรัด       1.2 วิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออก       1.3 สรุป และถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2561       1.4 กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ปี 2562       1.5 เขียนแผนงานโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด
          1.6 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด พิจารณาอนุมัติโครงการ       1.7 ดำเนินกิจกรรมโครงการอัศวินน้อยปราบลูกน้ำยุงลาย
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน       2.1 ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหัวหรั่ง หมู่ที่ 3 ตำบลชะรัด เพื่อร่วมกันกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมาย กำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และพัฒนาทักษะการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย       2.2 อสม. แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการตามวันเวลาที่กำหนด       2.3 ติดต่อวิทยากร       2.4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้โรคไข้เลือดออก และพัฒนาทักษะการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 ครั้ง       2.5 อัศวินน้อย ร่วมกับ อสม. และประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อยเดือนละ 3 ครั้ง เพื่อตัดวงจรชีวิตลูกน้ำยุงลาย       2.6 ประธาน อสม. สรุปค่า ค่า HI ,CI ของแต่ละรอบเดือน       2.7 คืนข้อมูลให้ชุมชนร่วมกันเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือน อสม. การประชุมหมู่บ้าน ประกาศผ่านหอกระจายข่าว       2.8 รายงานผลการดำเนินงานเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. ค่า HI ,CI ไม่เกินร้อยละ 10
    1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2562 16:29 น.