กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย บ้านนามะพร้าว
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ม.6 บ้านนามะพร้าว
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวินัย รองเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 7,900.00
รวมงบประมาณ 7,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ   สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น   ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านนามะพร้าว ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง เพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก เป็นการป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยงให้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ และเพื่อทำการเฝ้าระวัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๒.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

-มีการจัดอบรมให้ความรู้ ๑ ครั้ง -ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,900.00 0 0.00
4 ต.ค. 62 โครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยบ้านนามะพร้าว 0 7,900.00 -

๑.ก่อนดำเนินการ ๑.๑ สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเขตรับผิดชอบ
๑.๒ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๑.๓ ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ ๑.๔ แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายผู้ที่สนใจการเข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจง กำหนดการ ๒.ระยะดำเนินการ ๒.๑ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๑ ๒.๒ แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล ๒.๓ แยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ ๒.๔ ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและแนะนำสมุนไพรล้างพิษสำหรับผู้มีความเสี่ยง ๒.๕ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๒ ๓.หลังการดำเนินการ ๓.๑ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงจากปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็ง ๒. กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๓. กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562 08:46 น.