กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก (0-6 ปี)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลชะรัด
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2019 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ทองรอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติทั้งนี้ เพราะเด็กในช่วงอายุนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับการพัฒนาด้านต่างๆ ของเด็กมีผลต่อการกำหนดลักษณะพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กก่อนวัยเรียนจะต้องมีโภชนาการที่ดี ไม่มีภาวะทุพโภชนาการไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่นโรคหนอนพยาธิ เป็นต้น และจากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก(0-6 ปี) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด พบว่าเด็ก(0-6 ปี) ในปีงบประมาณ 2561 จำนวนเด็กทั้งหมด 303 คน ที่ชั่งน้ำหนักจำนวน 268 ราย พบว่ามีภาวะโภชาการต่ำกว่าเกณฑ์ของเด็กอายุ(0-6 ปี) จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.55 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7) ซึ่งภาวะการขาดสารอาหารในเด็ก(0-6 ปี) นั้น ส่งผลกระทบต่อระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติจึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก(0-6 ปี) ในพื้นที่ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ปกครองเด็กขาดสารอาหาร ได้รับความรู้ ตลอดจนร่วมวางแผนการส่งเสริมโภชนาการและป้องกันภาวะขาดสารอาหารของเด็กอายุ(0-6 ปี) เดือนในพื้นที่ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก (0 – 6 ปี) ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็ก(0 – 6 ปี) มีพัฒนาการทางร่างกายที่สมวัย ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ และตระหนักในเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการของเด็ก ข้อที่ 4. เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแล ติดตามชั่งน้ำหนัก และประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือน
  1. เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก (0 – 6 ปี) ไม่เกินร้อยละ 7
  2. เพื่อให้เด็ก(0 – 6 ปี) มีพัฒนาการทางร่างกายที่สมวัย ร้อยละ 80
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ และตระหนักในเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กร้อยละ 80
  4. เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแล ติดตามชั่งน้ำหนัก และประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือนร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 6,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 ส่งเสริมและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก (0-6 ปี) 50 6,800.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ประชุมหารือเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการ เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดกลวิธีในการดำเนินงาน - สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก(0 – 6 ปี) เพื่อทราบจำนวนเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า - เขียนโครงการและเสนอโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองเฉลิมเพื่อพิจารณาและอนุมัติโครงการ
- สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการจัดอบรม 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม - มีการติดตามชั่งน้ำหนักเด็กทุก 3 เดือน - ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ     - มีการติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่ขาดสารอาหารทุก 1 เดือน     - จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง ในชุมชน 3. ดำเนินงานตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- ประเมินผลจากแบบประเมินภาวะโภชนาการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก (0 – 6 ปี) มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ร้อยละ 80   2. เด็ก(0 – 6 ปี) ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตามและแก้ไข ร้อยละ 90   3. ผู้ปกครองเด็กขาดสารอาหารมีพฤติกรรมในการส่งเสริมให้เด็กขาดสารอาหาร บริโภคอาหารที่มีประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2019 08:52 น.