กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนพ่อแม่
รหัสโครงการ 60-L8405-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาณิศา น้อยสร้าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.03,100.537place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืนและป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็กให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเด็กทุกขั้นตอน จากแนวคิดเชิงทฤษฎีและผลการวิจัยด้านพัฒนาการเด็กได้แสดงว่า ปัจจัยแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองมนุษย์ได้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมององค์ความรู้และแนวคิดสมัยใหม่เรื่องการพัฒนาสมอง ในทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้ศาสตร์ต่างๆไปวิเคราะห์สมองถ่ายภาพสมองเพื่อศึกษาพัฒนาการแต่ละขั้น ความรู้ใหม่พบว่า โอกาสแห่งการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้สูงสุดอยู่ในช่วงวัยเด็กการเติบโตและพัฒนาการของสมองเป็นรากฐานของการเรียนรู้ และเริ่มตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ในช่วงอายุ 3 - 6เดือน ในครรภ์มีการสร้างเซลล์สมองสูงสุดการเติบโตของสมองสูงสุดในช่วงอายุ0 – 6 ปี เป็นการเติบโตทางปริมาณทำให้สมองเด็กมีขนาด 90 – 95 % สมองไม่ได้หยุดโตเมื่ออายุ 6 ปี แต่สมองเติบโตจนถึงอายุ 20 -25 ปี การศึกษาเรื่องการเรียนรู้ของสมอง เช่นการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวาไม่แยกส่วนกัน แต่จะทำงานในลักษณะร่วมกันทั้งสมองซีกซ้าย และซีกขวา จากความรู้นี้นำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้สมัยใหม่ให้เข้ากับพัฒนาการของสมอง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรด้านปฐมวัยต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของเด็ก ในปัจจุบันเป็นที่น่าวิตกและถือเป็นวิกฤตของเด็กปฐมวัยเนื่องจากข้อเท็จจริงจากการประเมินสถานการณ์ และทดสอบพัฒนาการการคัดกรองในเด็กปฐมวัย ( อายุ 0- 5 ปี )พบว่าโดยภาพรวมเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม สติปัญญา และจริยธรรม เมื่อพิจารณาจากประเด็นปัญหาต่าง ๆ แล้วสรุปได้ดังนี้ 1.เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ได้รับบริการจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในรูปโรงเรียนอนุบาล ยังด้อยคุณภาพในเรื่องการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ การเร่งสอนอ่าน เขียน คิดเลข เพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่ให้อิสระแก่เด็กในการแสดงออก ห้ามเด็กพูด การบังคับให้นั่งเงียบ ๆ ให้ทำการบ้านทุกวัน รวมทั้งขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2.เด็กอายุ 3 – 5 ปี ที่ได้รับบริการจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในรูปแบบศูนย์เด็กเล็ก พบว่ายังขาดคุณภาพในเรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก จิตวิทยา และพัฒนาการเด็ก เช่น ให้เด็กเรียนโดยท่องจำอย่างเดียว ไม่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดตั้งแต่เล็กๆการให้เด็กนั่งอยู่กับที่ทั้งวัน การเร่งสอนอ่านเขียนคิดเลข การเรียนการสอนดำเนินการ โดยขาดความเข้าใจในขั้นพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็ก
1.การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี ) ซึ่งมีมาตรการสนับสนุน อาทิ สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยต้องได้รับการประเมิน
พัฒนาการเพื่อค้นหาและเฝ้าระวัง 2.การส่งเสริมพ่อแม่และผู้ทำการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งมีมาตรการ อาทิ จัดบริการเสริมความรู้ความเข้าใจให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 3.การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จากสภาพปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงกำหนดให้มีโครงการอบรม พัฒนา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย ก้าวสู่โรงเรียนพ่อแม่ปี2560ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลสุขภาพ

กิจกรรมอบรม

2 เพื่อให้บิดา มารดา อสม. มีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

กิจกรรมอบรม

3 เพื่อให้บิดา มารดา อสม. ตระหนักในการส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียรู้ ทุก 3 เดือน

4 เพื่อให้ มารดาและบิดา อสม. มีความรู้ในการดูแลเด็ก0-5 ปี ให้มีการพัฒนาการที่สมวัย

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุก3 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การเตรียมการ 1.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก 2. เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการ 1.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เกี่ยว เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการฯ 2. จัดประชุมกรรมการพร้อมมอบหมาย หน้าที่รับผิดชอบให้คณะทำงานพัฒนาส่วนขาด ในคลินิกฝากครรภ์ คลินิกเด็กดี ทั้งในด้านองค์ความรู้ และวัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็น ให้พร้อมใช้งาน 3. จัดให้ความรู้ “โรงเรียนพ่อแม่” แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี 4. เยี่ยมติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5. ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสถานบริการ สำรวจและจัดหาอุปกรณ์ เครื่องเล่นส่งเสริม
พัฒนาการเด็กเพิ่มเติม 6. จัดการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในเรื่องการอนามัยแม่และเด็ก 7. ให้ความรู้แก่ อสม.ในการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และมารดาทารกหลังคลอด 8. จัดให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด พร้อมบันทึกการเยี่ยม 9. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน 10. จัดมุมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานบริการ 11.ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดรูปแบบในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดและเด็กในชุมขน
  2. ผลการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานอนามัยแม่และเด็กส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ทารกหลังคลอด และเด็กในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 10:55 น.