กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชนนักปฏิบัติ แบบองค์รวม
รหัสโครงการ 62-L2496-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,573.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาเรียม อิสลามธรรมธาดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 28,573.00
รวมงบประมาณ 28,573.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นกลยุทธ์ที่เสริมสร้างศักยภาพของภาคประชาชนและเครือข่ายชุมชนในการดูแลสุขภาพจิต เข้าถึงบริการสุขภาพจิต และให้โอกาสผู้ที่อยู่กับปัญหาสุขภาพจิตเสริมพลังศักยภาพโดยการบูรณาการการดูแลสุขภาพจิตเข้าสู่ระบบสาธารณสุขตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายบริการสุขภาพจิต(DHS) เครือข่ายผู้ดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตในเขตตำบลยี่งอมีการดำเนินงานมามากพอสมควรแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้านครอบคลุม หลักการของงานสุขภาพจิตชุมชนคือการให้บริการแก่ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้งานสุขภาพจิตชุมชนมีเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา
    นอกจากนี้ การเข้าถึงบริการจิตเวชที่มารับบริการที่แผนกสุขภาพจิตชุมชนในปี 2559 จำนวน 218 ราย ปี2560 จำนวน 345 ราย ปี2561จำนวน345ราย ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลยี่งอ มีผู้ป่วยทางจิตในปี2559 จำนวน 17 รายในปี2560จำนวน 20 รายและในปี2561 ทั้งหมด 22 รายจะเห็นได้ว่าการเข้าถึงโรคจิตเพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละปีด้วยดังนั้นงานสุขภาพจิตชุมชน โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการดูแลติดตามให้ความรู้แก่ชุมชนได้และสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปนี้คือ (1.)พัฒนาสัดส่วนเครือข่ายบริการสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน เช่นการฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาล การบริการเยี่ยมบ้าน และ การให้บริการฉุกเฉินทางจิตเวชในชุมชน (2.) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในท้องถิ่น สนับสนุนการบริการร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสร้างสุขภาพร่วมกันการ สู่ภาคประชาชนได้ แบบบูรณาการ (DHS ) อย่างยั่งยืน (3.) เครือข่ายในชุมชนมีการสนับสนุนให้ความรู้สุขภาพจิตมากขึ้น ลดอคติและการแบ่งแยกกีดกันผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัวจำเป็นจะต้องมีความรู้มีทักษะ และการให้คำแนะนำ ที่ถูกต้องรวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการสร้างสุขภาพบริการสุขภาพจิตชุมชนที่ยั่งยืนระดับอำเภอต่อไป ดังนั้น งานสุขภาพจิตชุมชน โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จึงได้จัดโครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตชุมชนนักปฏิบัติ แบบองค์รวมการใช้กิจกรรม HUGS Model เพื่อนำไปสู่รูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อบูรณาการสร้างสุขภาพจิตดีสู่อำเภอยี่งอโดยชุมชนมีส่วนร่วมและความเข้มแข็ง ของภาคีเครือข่าย

มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ

50.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพจิตดีของประชาชนในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของผู้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

80.00
3 3.สนับสนุนองค์ความรูที่ถูกตอง ปรับทัศนคติ ลดอคติ แก่เครือข่ายชุมชน ต่อผู้ป่วยทางจิตในชุมชนนำไปสู่การรักษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจร้อยละ 80

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,573.00 1 28,573.00
1 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมโครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตชุมชนนักปฏิบัติ แบบองค์รวม 0 28,573.00 28,573.00

๑.จัดทำโครงการขออนุมัติ ๒.แต่งตั้งคณะทำงาน ๓.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม ๔.ประสานพื้นที่ เครือข่ายสร้างสุขภาพของแต่ละหมู่ในตำบลยี่งอ 5.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการบูรณาร่วมกันสร้างสุขภาพจิต สู่ชุมชน เพิ่มความเข้มแข็ง ของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน 2.สามารถสร้างกระแสเพิ่มความตระหนักในชุมชน 3.เกิดนวัตกรรมวิชาการด้านสุขภาพจิตสู่ชุมชน 4.กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตชุมชนนักปฏิบัติ แบบองค์รวม ร้อยละ80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562 15:06 น.