กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีเกาะแต้ว รักษ์สุขภาพ ห่างไกลมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ปี 2560
รหัสโครงการ 11/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะแต้ว
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชฎาพร พิทักษ์วโรดม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ /นางนันทา แก้วพิทยานนท์ ผอ.รพ.สต.เกาะแต้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.638place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถิติ “วันมะเร็งโลก” พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ ๑ ของคนไทย ต่อเนื่องนานกว่า ๑๓ ปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นต้นมา และข้อมูลล่าสุด จากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบอีกว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า ๖๐,๐๐๐ คนต่อปี ขณะที่มีรายงานการเสียชีวิตปีละเฉียด ๘ ล้านคนทั่วโลก ล่าสุด องค์การอนามัยโลกคาดว่า อีก ๒๑ ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นปีละ ๒๔ ล้านคนมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ๓ อันดับแรก คือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และ มะเร็งตับและท่อน้ำดี ตามลำดับ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี(๒๐ ต่อแสนประชากร) พบผู้ป่วยใหม่ปีละประมาณ ๗,๐๐๐ ราย เสียชีวิต ปีละประมาณ ๔,๐๐๐ ราย และร้อยละ ๙๓.๕ พบในสตรีที่มีอายุมากกว่า ๓๕ ปี รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม พบได้ประมาณ ๑๖.๓ ต่อแสนประชากร และพบมากในสตรีช่วงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เช่นกัน หากไม่ได้รับการสื่อสารความเสี่ยงรายบุคคล และปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับอายุมากขึ้นกลุ่มที่พบปัจจัยเสี่ยงสูงดังกล่าวจะเพิ่มเป็นผู้ป่วยใหม่ในปีถัดไป สำหรับในปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา การตรวจคัดกรองมะเร็งในสตรี อายุ ๓๕ปี ขึ้นไป ได้รับการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองและประเมินทักษะโดยอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๑,๓๙๘ คน (ร้อยละ ๘๗.๓๔) พบความผิด และส่งต่อเพื่อพบแพทย์จำนวน ๒ คนและได้รับการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smearจำนวน ๕๗๕คน (ร้อยละ๓๕.๙๑) พบความผิดและส่งต่อเพื่อพบแพทย์จำนวน ๒ คน จากความสำคัญ และสถานการณ์ ที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงคุกคามคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ในปีงบประมาณ๒๕๖๐ จึงได้จัดทำโครงการสตรีเกาะแต้ว รักษ์สุขภาพ ห่างไกลมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ๒. เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ๓. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจรักษาที่ถูกต้อง ๔. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในโรงเรียนให้มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์และสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกในระยะยาว ๕. เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มองค์กรต่างๆร่วมสนับสนุนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๒. วิธีดำเนินการ ๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน ได้แก่สตรีที่มีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ (เกิดในปี พ.ศ.๒๕๓๐ -๒๕๐๐) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ
๑.๒ ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน ๑.๓ จัดทำแผนงานโครงการ ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑ พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้มีความรู้ทักษะ และเป็นแกนนำในในการจัดกิจกรรมปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ความรับผิดชอบ ทั้งในหน่วยบริการ และในชุมชน ๒.๒ จัดทำสื่อ และเตรียมอุปกรณ์ ๒.๓ จัดอบรมให้ความเรื่องเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน ๒.๔ จัดสัปดาห์รณรงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ผ่านสื่อต่างๆ และใช้สื่อบุคคลในพื้นที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแนะนำเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการการตรวจคัดกรองและได้รับการดูแลในหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน
๒.๕ รายงานผลการตรวจคัดกรอง และสื่อสารความเสี่ยงรายบุคคล และจัดกิจกรรมปรับพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยง และโอกาสการเกิดโรค ๓. ขั้นประเมินผลกิจกรรม ๓.๑ ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลรายงาน และติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานทุกเดือน
๓.๒ ประเมินความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง ๓.๓ นิเทศติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 16:09 น.