กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 13/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะแต้ว
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชฎาพร พิทักษ์วโรดม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ/นางนันทา แก้วพิทยานนท์ ผอ.รพ.สต.เกาะแต้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.638place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุลเช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติดเป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิต ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้มีคอเรสเตอรอลสูง ผู้มีอายุเกิน 35 ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะเครียดสูง (พนิดา วสุธาพิทักษ์ 2555) อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมสุขภาพไม่ใช่สิ่งที่จะปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพราะบุคคลมักจะเคยชินกับพฤติกรรมที่ปฏิบัติมานาน แม้จะมีความรู้และมีทัศนคติที่ถูกต้อง ก็อาจไม่ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาที่ดี ตัวอย่างเช่น คนมีความว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงรู้สึกว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุผลในเรื่องของเวลา ความขี้เกียจ ความจำกัดด้านสถานที่ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนความรู้ และทัศนคตินั้นไม่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ผ่านมาบุคลาการสาธารณสุขที่รับผิดชอบโครงการด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มักให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และปรับทัศนคติเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีทฤษฏีพฤติกรรมสุขภาพมากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ จากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.เกาะแต้ว จากกลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลจากการคัดกรองเมื่อ 1 ตุลาคม 2559 – 31 มีนาคม 2560พบผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่8ราย โรคเบาหวาน3 ราย และประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงที่สงสัยเป็นโรความดันโลหิตสูง 52 ราย โรคเบาหวาน21รายจากกลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป รายดังนั้นทางรพ.สต.เกาะแต้ว จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและอ้วนลงพุงและพัฒนาภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและอ้วนลงพุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

 

2 2. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

 

4 4. เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชากรในชุมชนตำบลเกาะแต้ว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะทำงาน กลุ่ม อผส, อสม.,ชมรมผู้สูงอายุและแกนนำชุมชน 2.เขียนโครงการ / เสนอโครงการ/ ขออนุมัติโครงการ 3.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย 4. ดำเนินงานตามโครงการ - อบรมให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย / การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิต / โภชนาการต่างๆ /ความรู้ในการป้องกันโรคและการออกกำลังกาย ในกลุ่ม อสม.และกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
- ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง - ประเมินภาวะสุขภาพและให้การแก้ไข - ประเมินภาวะสุขภาพจิต - ดำเนินการวางแผนติดตามหลังการปรับเปลี่ยน 1 เดือน ๓ เดือน ๖ เดือน - ประเมินผล - สรุปผลการดำเนินโครงการและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๖.๑ ได้เป็นแนวทางศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงในตำบลเกาะแต้วโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ๖.๒ กลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ๖.๓ กลุ่มเสี่ยงสามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ๖.๔ ได้มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชากรในชุมชนตำบลเกาะแต้ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 16:54 น.