กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ปลอดโฟม ปลอดโรค
รหัสโครงการ 62-L5261-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 15,745.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาตีกะห์ จิสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคสมัยที่คนเราเร่งรีบ รักความสะดวกสบาย หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารกล่อง อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัด หาซื้อได้ง่าย โดยลืมคำนึงถึงสุขภาพ และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ขายต้องปรับตัวหาวิถีทางที่จะลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ เน้น “อิ่ม-ถูก-เร็ว” ส่งผลให้อาหารประเภทข้าวกล่องแกงถุง กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจในชีวิตประจำวัน โดยละเลยอันตรายของสุขภาพที่แฝงมากับวัสดุที่ใช้บรรจุอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมี      ที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร
          โฟม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุพอลิเมอร์ชนิดพอลิสไตรีน(polystyrene) เมื่อนำมาใช้บรรจุอาหารร้อนและอาหารทอด น้ำมันจากอาหารจะเกิดปฏิกิริยากับโฟม ทำให้เกิดสารอันตรายปะปนออกมากับอาหาร  สารเหล่านี้ ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ และยังก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลายได้ และข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2555-2559 พบว่าปริมาณขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 56 ล้านใบต่อวันเป็น 61 ล้านใบต่อวัน เมื่อมาดูข้อมูลล่าสุด ในปี 2559 มีปริมาณขยะประเภทโฟมเกิดขึ้น ประมาณ 1.3 ล้านตันต่อปี เฉลี่ยวันละ 3,704 ตันต่อวัน
        ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย จึงเล็งเห็นความสำคัญปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยาที่อาจเกิดอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร โดยมีการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ของเทศบาลท่าพระยา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

 

0.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

 

0.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนการใช้โฟม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,546.00 0 0.00
29 เม.ย. 62 ค่าจัดทำป้ายโฟมบอร์ด 0 1,125.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ 0 3,500.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ 0 3,500.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าจัดทำป้ายไวนิลฯโครงการ 0 900.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าจัดทำป้ายไวนิลฯสำหรับเดินรณรงค์ 0 1,800.00 -
29 พ.ค. 62 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม 0 3,000.00 -
28 มิ.ย. 62 ค่าจัดทำป้ายโฟมบอร์ดมอบให้ร้านอาหาร/แผงลอย 0 720.00 -

1.) ขั้นเตรียมการ 1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
1.2 ประสานงานกับภาคีเครือข่ายและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร และประชาชนทั่วไปได้ทราบ 1.3 ประสานงานกับภาคีเครือข่ายเพื่อขออนุเคราะห์วิทยากร 1.4 ประเมินความพร้อมด้านทรัพยากร 1.5 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข่าวสาร ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไปได้ทราบการจัดทำโครงการ 1.6 เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 1.7จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดโครงการ/กิจกรรม 2.) ขั้นดำเนินการ 2.1 ทำแบบทดสอบก่อนจัดอบรม 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ประกอบการค้าอาหาร ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร และตัวแทนผู้บริโภค) เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 2.3 ทำแบบทดสอบหลังการอบรม
2.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ ปลอดโฟม ปลอดโรค ภายใต้สโลแกน “ชุมชนท่าพระยา งดใช้โฟม”
2.5 ติดตามร้านค้า/แผงลอยที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมมอบประกาศ“ร้านนี้ปลอดภัย ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร” แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้อยละ 80
3.) ขั้นประเมินผล 3.1 แบบทดสอบความรู้ก่อนหลังการอบรม (pre – post test) และแบบประเมินผลการอบรม 3.2 ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม 3.3 สรุปผลการฝึกอบรม รายงานตามขั้นตอน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหารเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร
  3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมและเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่ปลอดภัยได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 11:55 น.