กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 62-L5261-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 50,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูไนนี เจ๊ะอาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรคการเผาผลาญอาหาร โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญ  ในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรคการเผาผลาญอาหาร ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียด    การเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญ  ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งจากข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561 ประชากรได้รับการคัดกรอง 3,151 ราย พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 97 ราย  ( 2.68% ) เสี่ยงความดันโลหิตสูง 318 ราย( 10.09 % ) และในปีงบประมาณ 2562 ประชากรได้รับการคัดกรอง 3,658 ราย พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 423 ราย ( 11.56% ) เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 540 ราย ( 17.62 % ) ซึ่งแนวโน้มสูงขึ้นมาก เนื่องจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง วิถีการกินอาหารของพื้นที่นิยมกินอาหารรสเค็ม หวาน และที่สำคัญยังขาดความรู้เรื่องการจัดการสุขภาพตัวเองที่ถูกต้อง ให้ห่างไกลโรค   จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อยร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสะบ้าย้อย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้นมา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองให้บรรลุวัตถุประสงค์ประชาชนมีสุขภาพดี  จากเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน รวมทั้งมีการสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม และส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งยังไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้การจัดการชุมชนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้านต่าง ๆ ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการลดโอกาสเสียง เช่น การกำหนดมาตรการทางสังคมของชุมชน และการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องรวมถึงมีความรู้ ความเข้าใจจนเกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเอง และครอบครัวให้สามารถควบคู่พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับที่พอเหมาะสมลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อต้องการให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายและมีพฤติกรรมการออกกําลังกาย และบริโภคอาหารที่เหมาะสม

 

0.00
2 2. เพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปตามระบบที่แม่นยำและรวดเร็ว

 

0.00
3 3. เพื่อให้เกิดบุคคลต้นแบบด้านการลดโรค ลดเสี่ยง

 

0.00
4 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,630.00 0 0.00
21 - 22 พ.ค. 62 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 0 9,500.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 0 9,500.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 ค่าวิทยากรจากหน่วยงานภายนอก 0 2,400.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 ป้ายไวนิลโครงการ 0 900.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 เอกสารความรู้ประกอบในการอบรม 0 6,630.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 แถบอ่านค่าระดับน้ำตาล 0 8,400.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 เข็มเจาะปลายนิ้ว 0 3,300.00 -
21 - 22 พ.ค. 62 เครื่องวัดความดันโลหิต 0 10,000.00 -

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นเตรียมการ 1.) จัดทำแผนงาน/โครงการ พร้อมแต่งตั้งคณะทำงานและเสนอขออนุมัติงบประมาณ 2.) คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 170 คน จากจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งหมด  423 คน จากโปรแกรม (HDC สงขลา) 3.) แบ่งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นเวลา 2 วัน วันละ 85 คน และเจ้าหน้าที่วันละ 10 คนรวมเป็นวันละ 95 คน 4.) ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตัวแทน อสม.ที่เกี่ยวข้อง
5.) ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องต่างๆ อาทิ ผู้นำชุมชน อสม.
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินโครงการ     1.) ประเมินภาวะสุขภาพและวินิจฉัยระดับความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พร้อมทำนายการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ 2.) ทดสอบก่อน – หลัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.) จัดกิจกรรมตามแผนการสอนที่กำหนด (ให้ความรู้เรื่อง 3อ. 2ส.)   3.1 ฐานที่ 1 การคำนวณแคลอรี่ในอาหาร/การควบคุมน้ำหนัก/บุหรี่และสุรา
  3.2 ฐานที่ 2 การฝึกจิต/การออกกำลังกาย   3.3 ฐานที่ 3 สาธิตการปลูกผักสวนครัวไร้สารพิษ 4.) บันทึกค่าความดันโลหิต/ค่าน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองและบันทึกเมนูอาหารที่รับประทานก่อนวันที่บันทึก 1 วัน บันทึกจนกระทั้งครบ 3 เดือน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินผล
1. ทำนายการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ 2. ติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายโดยติดตามกลุ่มเป้าหมายทุก 1 สัปดาห์ จนกระทั้งครบ 3 เดือน 3. ประเมินค่าจากการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานหลังคัดกรองครั้งแรก 2 สัปดาห์ 1 เดือน,  3 เดือน และ 6 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีนโยบายสาธารณะ การร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคม และปฏิบัติตาม กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะการดูแลตนเอง เกิดกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเกิดความตระหนักและสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นทำให้ทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง กลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดัน ลดลง กลุ่มป่วยเบาหวานความดันรายใหม่ลดลง และกลุ่มสงสัย กลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 12:39 น.