กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 62-L5261-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูไนนี เจ๊ะอาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากร ในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรัง เป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดันหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้         จากข้อมูลผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบตำบลสะบ้าย้อยทั้งหมด ในปีงบประมาณ 2561 ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน 21 ราย โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 61 ราย และในปีงบประมาณ 2562 ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน 18 ราย โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 48 ราย ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวานจำนวนมีทั้งหมด 111 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 678 ราย ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมด 209 ราย รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 998 ราย(ข้อมูล จากHDCสงขลา ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562) ซึ่งมีแนวโน้มกลุ่มป่วยเพิ่มมากขึ้น
      ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างเข้มข้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการดูแลตนเองให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรค

 

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

 

0.00
3 3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ดีและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,400.00 0 0.00
27 - 28 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 0 3,500.00 -
27 - 28 พ.ค. 62 ค่าวิทยากรจากหน่วยงานภายนอก 0 2,400.00 -
27 - 28 พ.ค. 62 ป้ายไวนิลโครงการ 0 900.00 -
27 - 28 พ.ค. 62 เอกสารความรู้และวัสดุประกอบในการอบรม 0 12,600.00 -
27 - 28 พ.ค. 62 โมเดลอาหาร 0 5,000.00 -

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.) จัดทำแผนงาน/โครงการ พร้อมแต่งตั้งคณะทำงานและเสนอขออนุมัติงบประมาณ 2.) คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 120 คน จากจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 998 คน 3.) แบ่งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง      และโรคเบาหวาน วันละ 60 คน และเจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินโครงการฯ วันละ 10 คน รวมเป็นวันละ 70 คน เป็นเวลา 2 วัน
4.) ติดต่อประสานงาน จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และทีมวิทยากรเพื่อเตรียมดำเนินงาน 5.) ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตัวแทน อสม.ที่เกี่ยวข้อง
6.) ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ผู้นำชุมชน อสม. หอกระจายเสียง ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินโครงการ 1. ทดสอบก่อน – หลัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. ประเมินภาวะสุขภาพ พร้อมทำนายการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจในอีก 10 ข้างหน้า 3. ให้ความรู้เรื่อง 3อ. 2ส. / การคำนวณแคลอรี่ในอาหาร 4. ให้ความรู้เรื่องยาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 5. บันทึกผล/ติดตามผลน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน 6. คัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า     7. บันทึกความดันโลหิตด้วยตัวเองและบันทึกเมนูอาหารที่รับประทาน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินผล
1.) ประเมินความรู้ก่อน-หลัง เข้ารับการอบรม 2.) ติดตามพฤติกรรมสุขภาพด้วยการสังเกต และใช้แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2ส.และแบบทำนายการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ ก่อน-หลังอบรม 3.) ติดตามผลการคัดกรองสุขภาพกลุ่มป่วยประจำปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการดูแลตนเองให้ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับโรค มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถควบคุมโรคได้ดี ภาวะแทรกซ้อนลดลงทำให้เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 13:04 น.