กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนรุ่นใหม่ใส่ใจโรคซึมเศร้า
รหัสโครงการ 62-L5261-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 27,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสายัณห์ หลีหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 340 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งจากข้อมูลปี 2561 องค์การอนามัยโลกระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 20 คนของประชากรโลกกำลังป่วยด้วยโรคดังกล่าว และป่วยซ้ำสูงร้อยละ 50-70 ที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนในประเทศไทยพบวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงร้อยละ 44 หรือประมาณ 3 ล้านกว่าคน จากจำนวนวัยรุ่นทั้งหมดประมาณ 8 ล้านคน อัตราป่วยร้อยละ 18 ซึ่งคาดว่าป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นในตำบลสะบ้าย้อยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดโรคซึงเศร้าในวัยรุ่นลดลง ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสะบ้าย้อย ร่วมกันจัดทำโครงการคนรุ่นใหม่ใส่ใจโรคซึมเศร้าขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

 

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กวัยรุ่นในโรงเรียน มีการจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
3 ๓. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นในโรงเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,350.00 0 0.00
1 - 3 ส.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 0 8,500.00 -
1 - 3 ส.ค. 62 กระดาษขาวเทา 0 150.00 -
1 - 3 ส.ค. 62 ป้ายไวนิลโครงการ 0 900.00 -
1 - 3 ส.ค. 62 ปากกาเคมี 3 กล่อง 0 500.00 -
1 - 3 ส.ค. 62 เอกสารความรู้ 0 17,000.00 -
1 - 3 ส.ค. 62 ค่าประกาศนียบัตร 0 300.00 -

ขั้นตอนที่ ๑ จัดทำแผนงาน/โครงการ พร้อมแต่งตั้งคณะทำงาน และเสนอขออนุมัติงบประมาณ ขั้นตอนที่ ๒ การประชาสัมพันธ์โครงการ
        - ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย ตัวแทนชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการ
    - ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องต่างๆ อาทิ ผู้นำชุมชน องค์กร และกลุ่มต่างๆ ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินโครงการ
ระยะที่ ๑ จัดอบรม “โครงการคนรุ่นใหม่ใส่ใจโรคซึมเศร้า” เน้นการจัดการกับความเครียด ระยะที่ ๒ ค้นหานักเรียนต้นแบบด้านการจัดการกับความเครียด ระยะที่ ๓ จัดตั้งภาคีเครือข่ายเพื่อนดูแลเพื่อน         ระยะที่ ๔ ติดตามอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นทุกเดือนและลงไปทำกิจกรรมในโรงเรียน 3 เดือนครั้ง ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นประเมินผล         - ติดตามอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นทุกเดือน         - ลงประเมินความเครียดในวัยรุ่นทุก3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรม ครบตามจำนวนและเวลาที่กำหนดร้อยละ 90 2.มีนักเรียนต้นแบบด้านการจัดการกับความเครียดจำนวน 6 คน
  2. มีภาคีเครือข่ายเพื่อนดูแลเพื่อนในโรงเรียน
  3. อัตราการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 13:35 น.