กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
รหัสโครงการ 62-L5261-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 34,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตัยยีบะห์ หาสุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕-๑๔ ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีอีกด้วย ตามสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลสะบ้าย้อย พบว่ามีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี ๒๕5๘ – ๒๕60 เท่ากับ 74.10 (6 ราย), 1,138.92 (91) และ ๑86.88 (๑8 ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ (ที่มา : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ จังหวัดสงขลา) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตำบลสะบ้าย้อยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่า ดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย (House index) เท่ากับ 1๓.๒๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (House index < 10) แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ที่พบ เป็นภาชนะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น กะลามะพร้าว ยางรถยนต์เก่า และขวดพลาสติก ซึ่งการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยการรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
  ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อยจึงจัดทำโครงการขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ และเพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ประชาชนและแกนนำควบคุมโรคให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันและดูแลให้ชุมชนปลอดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

 

0.00
2 ๒. เพื่อให้เกิดแกนนำควบคุมโรคในชุมชนที่มีคุณภาพ

 

0.00
3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
4 ๔. เพื่อให้ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลาย HI < 10 , CI = ๐

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,500.00 0 0.00
10 - 17 มิ.ย. 62 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 3,600.00 -
10 - 11 มิ.ย. 62 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ดำเนินงาน 0 8,000.00 -
10 - 11 มิ.ย. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ดำเนินงาน 0 5,500.00 -
10 - 11 มิ.ย. 62 ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 0 900.00 -
10 มิ.ย. 62 - 17 ส.ค. 62 ค่าจัดทำป้ายไวนิลในการรณรงค์ 0 900.00 -
10 - 11 มิ.ย. 62 ค่าเอกสารจัดอบรม 0 7,000.00 -
11 - 17 มิ.ย. 62 ค่าวัสดุในการเดินรณรงค์ 0 1,000.00 -
11 - 17 มิ.ย. 62 ค่าจัดทำป้ายโฟมบอร์ดในการเดินรณรงค์ 0 1,350.00 -
12 - 17 มิ.ย. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเดินรณรงค์ 0 6,250.00 -

ขั้นตอนที่ ๑ จัดทำแผนงาน/โครงการ พร้อมแต่งตั้งคณะทำงาน และเสนอขออนุมัติงบประมาณ ขั้นตอนที่ ๒ การประชาสัมพันธ์โครงการ
          - ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย ตัวแทนชุมชน และผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อชี้แจงโครงการ
      - ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องต่างๆ อาทิ ผู้นำชุมชน โรงเรียน องค์กร และกลุ่มต่างๆ ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินโครงการ
ระยะที่ ๑ จัดอบรม “โครงการรวมพลังพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์” ระยะที่ ๒ จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นประเมินผล - ประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน HI < 10 , CI = ๐ - ประเมินจากอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน และแกนนำควบคุมโรค มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  2. กลุ่มแกนนำควบคุมโรคในชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
  3. นักเรียน และครู มีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  4. ค่าดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลาย (HI , CI) ในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 13:50 น.