กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ลูกปลอดภัย ห่างไกลภาวะโลหิตจาง
รหัสโครงการ 62-L5261-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนนทยา ตั้งภูริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ ๔๒ ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึง ร้อยละ ๓๕-๗๕ และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ ๒๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแอฟริกา และเอเชียตอนใต้ โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก สถานการณ์ภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ไทยจากรายงานของกรมอนามัย พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ร้อยละ ๒๐-๓๐ ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ปี ๒๕๖๑ ของศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่า ร้อยละภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ เท่ากับ ๒๓.๙ ( เกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ๑๐ ) ซึ่งผลของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อมารดา คือ ทำให้การทำงานของหัวใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากภาวะช็อก หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว ได้ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ส่วนผลต่อทารก คือ บางสาเหตุสามารถถ่ายทอดความเสี่ยงไปยังทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือทารกโตช้าในครรภ์ เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด และการคลอดก่อนกำหนดมีเหล็กสะสมน้อยกว่าปกติ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริมหลังคลอด จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อยร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลสะบ้าย้อย ได้เห็นความสำคัญของการรณรงค์งานอนามัยแม่และเด็กเพื่อให้มีหญิงมีครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ และกำเนิดบุตรที่มีสุขภาพที่แข็งแรงทางกายและจิตใจภายใต้โครงการ แม่ลูก ปลอดภัยห่างไกล ภาวะโลหิตจาง โดยให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชนแกนนำสตรีและหญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีความรู้ในงานอนามัยแม่และเด็ก การประชาสัมพันธ์และการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หญิงมีการครรภ์ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์จะช่วยให้ทราบถึงการเจริญเติบโตรวมถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์

 

0.00
2 เพื่อให้มารดามีความรู้ในการดูแลสุขภาพแม่และเด็กได้ถูกต้องและเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ลด ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอด

 

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,050.00 0 0.00
2 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับประชุมแกนนำ การดูแลหญิงตั้งครรภ์เคลื่อนที่ 0 2,250.00 -
9 - 10 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีตามแผนการสอนโรงเรียนพ่อแม่ 0 9,000.00 -
16 พ.ค. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 0 1,000.00 -
21 มิ.ย. 62 ค่าวิทยากร 0 1,800.00 -
21 มิ.ย. 62 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 1,000.00 -
21 มิ.ย. 62 ค่าเอกสาร แผ่นพับ ซีดี 0 3,000.00 -

-ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสะบ้าย้อย ร่วมกับแกนนำทีม การดูแลหญิงตั้งครรภ์เคลื่อนที่เพื่อชี้แจงโครงการ วางแผนการดำเนินงาน ค้นหาและสำรวจหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี และหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ 2.จัดตั้งแกนนำทีม การดูแลหญิงตั้งครรภ์เคลื่อนที่ โดยแบ่งเขตรับผิดชอบหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี และหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของตน 3.เตรียมจัดทำเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ เช่น แผ่นพับ ป้ายไวนิล ซีดี ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
4.ประสานกลุ่มเป้าหมาย จัดทำทะเบียนกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
-ขั้นดำเนินการ 1.จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีตามแผนการสอนโรงเรียนพ่อแม่ โดยครั้งที่ ๑ เมื่อ อายุครรภ์น้อยกว่า ๒๘ สัปดาห์ ครั้งที่ ๒ อายุครรภ์ ๓๒ สัปดาห์ขึ้นไป 2.ดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุกราย 3.เจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง ครั้งแรกเมื่อมาฝากครรภ์ และครั้งที่ ๒ ห่างจากครั้งแรก เป็นระยะเวลา ๓ เดือน(ในรายที่ปกติ) และเจาะติดตามทุกเดือนในรายที่พบภาวะโลหิตจาง 4.จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ให้หญิงตั้งครรภ์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน 5.ติดตามผลการดำเนินงานของทีม การดูแลหญิงตั้งครรภ์เคลื่อนที่ โดยให้หญิงตั้งครรภ์มีการกินยาธาตุเหล็กต่อหน้า และลงบันทึกในแบบบันทึกการกินยา -ขั้นประเมินผล 1.ทดสอบความรู้ของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2.เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของเลือด ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3.หญิงตั้งครรภ์มีระดับน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ 4.หญิงตั้งครรภ์เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก พร้อมทั้งให้ความร่วมมือ 2.ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง โดยมีค่าไม่เกิน ร้อยละ ๑๐ 3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม 4.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามีในชุมชน มีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ โดยมีค่าตัวชี้วัด มากกว่า ร้อยละ ๘๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2562 14:11 น.