กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมทักษะชีวิตป้องกันยาเสพติดมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 63,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮัซวานี อาบูวะ เลขานุการศูนย์เพื่อนใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เยาวชน คือ อนาคตของชาติ ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว และการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ปี2561 สถิติการจับกุมคดียาเสพติดและตัวยายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดยะลาพบว่าพืชกระท่อมจับกุมได้ 1,484 คดี ยาบ้า 979 คดี ไอซ์157 คดี พื้นที่ค้าและแพร่ระบาดยาเสพติดหลัก 3 อันดับได้แก่ อำเภอเมืองยะลาร้อย 26.52 อำเภอเบตงร้อยละ 21.66 อำเภอรามันร้อยละ 14.30 จังหวัดยะลามีผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดเป็นอันดับที่ 5 ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งจะมีช่วงอายุระหว่าง 20-24 ปี และอาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่จะเข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจ กลุ่มผู้เกี่ยวข้องยาเสพติดรายใหม่ยังคงเป็นปัญหาหลักในอนาคต ซึ่งพบว่ามีสัดส่วนสูงทั้งในกลุ่ม ผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพ กลุ่มเยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ปีถือเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งพบทั้งที่อยู่ใน สถานศึกษาและนอกสถานศึกษา โดยกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับประถมศึกษา กลุ่มที่มีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งหากสามารถผลักดันให้นักเรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น เรียนต่อถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้จะทำให้อัตราการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลงและควรมีการป้องกันตั้งแต่แรก (สำนักงานคณะกรรมการและปราบรามยาเสพติด (ปปส.)
จากผลกระทบดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมทักษะชีวิตป้องกันยาเสพติดมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างเจตคติ มีทักษะปฏิเสธให้นักเรียน ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สร้างเกราะป้องกันเรื่องยาเสพติดและการรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวและชุมชน พร้อมเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจการป้องกันยาเสพติด
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจโทษของพิษภัย ยาเสพติด ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนและสร้างมาตรการ ทางสังคมในการควบคุมปัญหายาเสพติดในระดับโรงเรียน
  1. จำนวนครั้งของการดำเนินกิจกรรมผ่านแกนนำนักเรียน
0.00
3 ข้อที่ 3 ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจของการจัดกิจกรรม ผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,100.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับคณะอาจารย์ และนักเรียน นักศึกษาแกนนำ จำนวน 50 คน 0 1,250.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น - การจัดรายการเสียงตามสาย - การพูดสุนทรพจน์หน้าเสาธง - การจัดตั้งชมรมห่างไกลยาเสพติด 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปและประเมินผลเพื่อออกมาตรการทางโรงเรียนสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในโรงเรียน 0 1,250.00 -
9 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมาย นักศึกษา จำนวน 200 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน รวมเป็น 220 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 60,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในมหาวิทยาลัย
  2. เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 00:00 น.