กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ ในยาสมุนไพร
รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 1 - 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 79,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลละงู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารสเตียรอยด์เป็นสารประเภทฮอร์โมน มีประโยชน์ในการบรรเทาการอักเสบ ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกัน และใช้ในผู้ที่ขาดฮอร์โมนประเภทนี้ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคเอส แอล อี (โรคพุ่มพวง) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ โรคหืด เป็นต้น แต่เมื่อนำสาร สเตียรอยด์มาใช้เป็นยา จะต้องใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น มิฉะนั้นจะเกิดอันตราย ยิ่งถ้าได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือในขนาดสูงมากจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความดันโลหิตสูง    เพิ่มน้ำตาลในเลือด กระดูกพรุน ต้อหิน ต้อกระจก เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผิวบาง หน้ากลมเป็นวงพระจันทร์ หลังเป็นหนอก  เป็นต้น ซึ่งเมื่อหยุดสเตียรอยด์กระทันหันจะเกิดอาการขาดสเตียรอยด์ ความดันโลหิตลดต่ำ น้ำตาลในเลือดตกลง ตามมาด้วยการเป็นลมหมดสติ

จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลละงู ในปีงบประมาณ 2560-2561 พบว่ามียาสเตียรอยด์ ปนปลอมในยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาได้สารพัดโรค มากกว่าร้อยละ 40 จากตัวอย่างยาสมุนไพรทั้งหมด 60 ตัวอย่างจากหลายพื้นที่ของอำเภอละงู ทั้งนี้มักพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังนำยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารเสตียรอยด์มาใช้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์เป็นยาที่มีฤทธิ์กดการอักเสบ มีผลทำให้ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์อาจเห็นผลในการบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว รู้สึกพึงพอใจ จึงทำให้อาจละเลยการรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง หากมีการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โรงพยาบาลละงูจึงได้จัดทำโครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรและ  ยาแผนโบราณ ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง โดยมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่และจัดกิจกรรมตรวจสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังการใช้สารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรของประชาชนในเขตตำบลกำแพง
  • แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์
  • ร้านค้าในชุมชนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • การตรวจหาสารเสตียรอยด์ ในร้านค้าที่จำหน่ายยาสมุนไพรและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่พบสารเสตียรอยด์ อย่างน้อยร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,250.00 4 75,290.00
1 - 21 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป 0 17,450.00 17,450.00
1 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร 0 10,000.00 10,080.00
1 พ.ค. 62 - 1 ก.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน 0 49,400.00 47,010.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,400.00 750.00

วิธีดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร และอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

  • สาธิต และฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ เพื่อตรวจหาสารสเตียรอยด์

กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

  • ติดป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร หมู่บ้านละ 2 ชุด จำนวน 12 หมู่บ้าน

กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน

  • เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ลงพื้นที่ตามร้านขายของชำหรือแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรในหมู่บ้าน และบ้านเรือนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้ เพื่อทดสอบหาสารสเตียรอยด์

  • ให้คำแนะนำแก่ร้านค้าในชุมชนเกี่ยวกับอันตรายของสารสเตียรอยด์

  • จัดทำฐานข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์สารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมู่บ้านละ 1 ชุด

  • ติดตามผลตามร้านค้าในชุมชนและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์

  2. มีการตรวจ/เฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่นำมาใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงโดย อสม. และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ

  3. มีฐานข้อมูลยาสมุนไพรที่มีการใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงและข้อมูลผลการตรวจความปลอดภัยของยาสมุนไพร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2562 09:58 น.