กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างภาวะโภชนาการในเด็กอายุ ๐-๖ ปี ปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L2483-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน หมู่ ๑ บ้านแฆแบ๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 14,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูซีตา รูเปะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.09708,102.00961place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิด ถึง ๖ ปี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศบุคคลอื่นในครอบครัวที่มีส่วนอบรมเลี้ยงดูเด็ก หากเด็กได้รับความรัก ความอบอุ่นการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมถูกต้องส่งเสริมพัฒนาการและประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการการดูแลเอาใจใส่ความมั่นคงปลอดภัยเด็กวัยนี้จะมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงพัฒนาการทุกด้านสมวัยทั้งร่างกายสติปัญญา จิตใจสังคมและอารมณ์พร้อมที่จะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต โภชนาการเป็นเรื่องของการกินอาหารที่ร่างกายเรานำ"สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงค์ชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆในวงจรชีวิตมนุษญ์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด-๖ ปีเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐษนเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิตเป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านือาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเียนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโโยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ศสมช.บ้านเเฆแบ๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กแรกเกิด-๖ ปี เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างการเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราของเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของด็กอายุ ๐-๖ ปีที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ ๘๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,150.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมการชั่งน้ำหนักเด็ก 0 14,150.00 -

๑. จัดทำโครงการและแผนฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๒. ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ คืออสม. ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนได้รับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการฯโดยเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการฯผ่านอสม. ๔. เจ้าหน้าที่รพสตนานาคให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องต่อไปนี้ ๔.๑ ความรู้เรื่องการดูแลภาวะโภชนาการในเด็กอายุ ๐-๖ ปี ๔.๒ อาหารหลัก ๕ หมู่ ๔.๓ แนวทางการประชาสัมพันธ์ และการติดตามผู้ปกครองในการพาเด็กอายุ ๐-๖ ปี มารับการชั่งน้ำหนักเด็กทุก ๓ เดือน ๕. นำเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาพบเจ้าหน้าที่รพ.สต. นานาค เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ให้ยาถ่ายพยาธิและวิตามินเสริม ๖. แจกนมอัดเม็ดแ่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย จำนวน ๗ คน ทุก ๓ เดือน ๗. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราของเด็กอายุ ๐-๖ ปีที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานลดลง ๒. ผู้ปกครองสามารถดูแลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กอายุ ๐-๖ ปีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม..

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2562 00:00 น.