กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวานและความดัน
รหัสโครงการ 62-2986-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เมษายน 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 27,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรฮูดาร์ วาเง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องมีการจัดหารอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องดูแล รักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายสูง แนวโน้มสัดส่วนโครงสร้างประชากรไทย มีกลุ่มผู้สูงอายุจะมากขึ้น และกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคเรื้อรังอื่นๆ ในขณะที่ประชากรวัยรุ่นและวัยทำงานมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเมตาบอลิค โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งนำไปสู่โรคที่รุนแรงอื่นๆ ที่เป็นภาระหนักต่อระบบสาธารณสุขทั้งด้านการจัดบริการที่มีค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้้นมาก และเป็นสาเหตุของการสูญเสีชีวิตและอวัยวะ เช่น โรคไตวาย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด การตัดอวัยวะ ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงถึง 3.2 ล้านคน แต่เข้าถึงระบบบริการเพียงแค่ร้อยละ 41 ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 10 ล้านคน แต่เข้าถึงระบบบริการแค่ร้อยละ 29 นอกจากนี้จากสถิติรายงานพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้เพียงร้อยละ 30-40 และโรคเบาหวานควบคุมได้ดีเพียงร้อยละ 16 ทั้งสองโรคนี้เป็นสาเหตุของโรคร่วมที่ทำให้เสียชีวิตและอวัยวะ ต้องใช้ทรัพยากรที่หลากหลายทั้งผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีราคาแพงทางการแพทย์ในการดูแลรักษา เกิดสถาณการณ์การจัดทรัพยากรการรักษาพยาบาลที่ไม่เพียงพอและไม่คุ้มค่า มีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเป็นพิเศษ จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2561 ในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 658 ราย พบความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 375 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.98 และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.95 จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีเกินครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มปกติ กลุ่มเหล่านี้ถ้าใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิมโอกาสที่จะเป็นโรคมีสูงมากและจะทำให้เกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ เพื่อให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

1.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

1.2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

2.1 กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยไม่เกินร้อยละ 5

2.2 กลุ่มสงสัยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัย ไม่เกินร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
  2. จัดทำแผนการตรวจคัดกรองเป็นรายหมู่บ้าน
  3. ดำเนินการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่วางไว้
  4. ค้นหาแกนนำในกลุ่มป่วยเพื่อเป้นผู้นำกลุ่มในการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
  5. จัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเสี่ยง
  6. ปรับปรุงรูปแบบวิธีการปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตกลุ่มเสี่ยงเป็นรายบุคคล/รายกลุ่ม
  7. กิจกรรมเสริมพลังให้แก่กลุ่มเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
  8. ติดตามประเมินผล
  9. สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น
  2. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2562 11:26 น.