กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตะโละแมะนาปลอดยุงลาย ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-2986-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เมษายน 2562 - 6 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2562
งบประมาณ 21,505.20 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกามารีย๊ะ สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุงลายเป็นพาหะนำโรค ที่สำคัญและพบบ่อยในพื้นที่ คือ โรคไข้เลือดออก โรคไวรัสซิก้า และโรคไข้ปวดข้อ ยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วสร้างความเจ็บปวด ทรมาน บางรายถึงขั้นเสียชีวิต เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีผลต่อการทำมาหากิน ส่งผลให้เสียรายได้ ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไปทุกหมู่บ้านในประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี สาเหตุที่ทำให้โรคเหล่านี้ยังคงคุกคามชีวิต คือ การขาดความตระหนักในการป้องกันโรค การดำเนินการป้องกันโรคเน้นให้ประชาชนรู้จักการดูแลป้องกันตนเองให้ยึดหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก้บบ้านให้สะอาด ไม่รกทึบจนเป็นที่เกาะพักของยุงลาย , เก้บขยะ เศษภาชนะที่อาจมีน้ำขังไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเก็บภาชนะใส่น้ำปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่   สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ปี 2561 พบว่า มีผู้ป่วย 1,968 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต 80 ราย ปัตตานี 2561 พบว่า มีผู้ป่วย 1,968 ราย มีผู็เสียชีวิต 1 ราย อำเภอทุ่งยางแดง พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 30 ราย และ ตำบลตะโละแมะนามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต 2562 มีแนวโน้มการระบาดเกิดขึ้นในปี 2562 หากไม่มีมาตรการควบคุมและไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจเกิดการระบาดในวงกว้างไม่สามารถควบคุมโรค และอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้   ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงมีการดำเนินโครงการ ตะโละแมะนาปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ระดมความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคในพื้นทีรับผิดชอบของตนเอง อีกทั้งสร้างจิตสำนึกในการดุแลสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรค อันจะนำไปสู่ ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามาตรฐาน

 

0.00
2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Hl> 10 Cl =0 )

 

0.00
3 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและเครือข่ายตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก

 

0.00
4 เพื่อให้บุคลากรและประชาชนทั่วไปเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ขั้นเตรียมการ   1.1 ประชุมประสานการดำเนินงานผู็เกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำชุมชน อบต. ตัวแทนอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   1.2 ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไข้เลือดออก จากโรงพยาบาลทุ่งยางแดง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี   1.3 รับสมัครจิตรอาสาพ่นหมอกควันยุงลายในชุมชน 2. ขั้นดำเนินการ   2.1 ประชุมชี้แจงเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน   2.2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา (บ้าน โรงเรียน มัสยิด) โดยแยกเป็นโซนย่อยๆ ในเขตรับผิดชอบของอสม.     2.2.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก     2.2.2 กิจกรรมเดินปูพรมเชิญชวนชาวบ้านคว่ำกะลา ปรับปรุงทัศนียภาพรอบๆบ้าน โดยมี อสม.เป็นแกนหลัก     2.2.3 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ในชุมชน     2.2.4 แจกทรายอะเบท พร้อมเทลงภาชนะที่มีน้ำขังกำจัดลูกน้ำยุงลายให้กับประชาชน สำรวจค่า HI CI ในชุมชนทุกเดือน     2.2.5 อสม.เป้นแกนนำในการรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย รณรงค์การปิดปากโอ่ง ปล่อยปลากินลูกน้ำยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น   3.3 กิจกรรมป้องกันการระบาดเมื่อมีผู้ป่วยในพื้นที่     3.3.1 สอบสวนโรคที่บ้านผู้ป่วยและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่     3.3.2 กำจัดลูกน้ำยุงลายภายในและรอบบ้าน โดยใช้หลักการ 5 ป     3.3.3 พ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  2. ประชาชนในชุมชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. กระตุ้นให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญในการควบคุม และป้องโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
  4. สิ่งแวดล้อมในชุมชนสะอาดไม่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุง ลดความชุกของปริมาณลูกน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2562 12:15 น.