กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน


“ วัยรุ่นไม่ท้อง ปลอดแท้ง ลดท้องซ้ำ เด็กยุคใหม่เติบโตดีสมวัย ใส่ใจนมแม่ ประจำปี๒๕๖๒ ”

ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายสะบัน สำนักพงศ์

ชื่อโครงการ วัยรุ่นไม่ท้อง ปลอดแท้ง ลดท้องซ้ำ เด็กยุคใหม่เติบโตดีสมวัย ใส่ใจนมแม่ ประจำปี๒๕๖๒

ที่อยู่ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5295-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 เมษายน 2562 ถึง 20 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"วัยรุ่นไม่ท้อง ปลอดแท้ง ลดท้องซ้ำ เด็กยุคใหม่เติบโตดีสมวัย ใส่ใจนมแม่ ประจำปี๒๕๖๒ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
วัยรุ่นไม่ท้อง ปลอดแท้ง ลดท้องซ้ำ เด็กยุคใหม่เติบโตดีสมวัย ใส่ใจนมแม่ ประจำปี๒๕๖๒



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาและไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัย 2. กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี และผู้ปกครองมีความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลัง คลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน (2) เด็ก0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ  ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับนมจืดส่งเสริมโภชนาการ ๕.เพื่อให้ผู้ปกครองและอสม.สามารถสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ให้แก่บุตรหลานได้ (3) ๖ มีการจัดตั้งคณะทำงานตำบลนมแม่ในเขตตำบลป่าแก่บ่อหิน/ มีคลินิกนมแม่ในรพ.สต บ้านทุ่งดินลุ่ม ๗. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ๘. มีอุปกรณ์สาธิตสนับสนุนการให้นมแม่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ๑.สร้างแกนนำนักเรียนป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น (2) อบรมวัยรุ่นและผู้ปกครอง (3) กิจกรรมเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอด (4) ประเมินภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก0-5ปี (5) ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ไม่มี

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายได้ร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสัปดาห์นมแม่โลก หรือ World Breastfeeding Week ที่นานาประเทศได้ร่วมกันกำหนดไว้ในวันที่ 1-7 สิงหาคมของทุกปี ภายใต้แนวคิด นมแม่คือรากฐานแห่งชีวิต Breastfeeding : Foundation of Life โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริม-สนับสนุนและปกป้องให้เด็กทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่อาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นหรือตามสูตร 1 – 6 – 2 สาธารณสุขตั้งเป้าต้องเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 โดยการทำเรื่องปกป้อง สนับสนุน ส่งเสริมการกินนมแม่ ซึ่งจากการสุ่มสอบถามมารดาที่มีบุตรอายุแรกเกิดถึง ๖ เดือน จำนวน ๑๑ คน ในเขตรพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่มพบว่า มารดาที่ให้บุตรกินนมแม่อย่างเดียวช่วง ๖ เดือนแรกมีทั้งหมด ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๗, กินนมแม่คู่กับนมผสมทั้งหมด ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๔๕, กินนมสมอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๗       ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเซฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ การทำแท้งเป็น การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว  สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม (เดือน ต.ค. 256๑ – มี.ค. 256๒) พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีจำนวน ๖ ราย จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด ๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๕ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีท้องซ้ำจำนวน ๑ ราย สาเหตุเกิดจากหญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้และไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดกับมารดาและทารกจาการการตั้งครรภ์อายุน้อย
      และจากการประเมินภาวะโภชนาการในช่วงอายุ 0-5 ปีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม (ต.ค.๖๐-ก.ย.๖๑) จำนวนเด็กทั้งหมด ๒๐๑  คน เด็กที่ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงจำนวน  ๑๕๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๖๑ เด็กมีรูปร่างดีสมส่วน ๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๕๓ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้ให้ความเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาและไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัย 2. กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี และผู้ปกครองมีความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลัง คลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน
  2. เด็ก0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับนมจืดส่งเสริมโภชนาการ ๕.เพื่อให้ผู้ปกครองและอสม.สามารถสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ให้แก่บุตรหลานได้
  3. ๖ มีการจัดตั้งคณะทำงานตำบลนมแม่ในเขตตำบลป่าแก่บ่อหิน/ มีคลินิกนมแม่ในรพ.สต บ้านทุ่งดินลุ่ม ๗. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ๘. มีอุปกรณ์สาธิตสนับสนุนการให้นมแม่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ๑.สร้างแกนนำนักเรียนป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น
  2. อบรมวัยรุ่นและผู้ปกครอง
  3. กิจกรรมเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
  4. ประเมินภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก0-5ปี
  5. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 280
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีแกนนำนักเรียนป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในสถานศึกษาจำนวน ๓ โรงเรียน ทั้งหมด ๑๕๐ คน
  2. กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี และผู้ปกครอง ในตำบลป่าแก่บ่อหินจำนวน ๖0 คนได้รับการอบรมความรู้เรื่องเพศศึกษา
  3. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๒๐ คน
  4. เด็ก0-5ปีได้รับการประเมินโภชนาการ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม และได้รับสนับสนุนนมจืดส่งเสริมโภชนาการ จำนวน ๓๒๐ คน
  5. อสม.และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้ประดิษฐ์ของเล่นเสริมพัฒนาการให้เด็ก
  6. มารดาในเขตรับผิดชอบมีความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และมารดาหลังคลอดให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจนถึง ๖ เดือน เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๕๐
  7. มีการจัดตั้งคลินิกนมแม่ และมีมุมนมแม่ในรพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ๑.สร้างแกนนำนักเรียนป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

๑. คัดเลือกแกนนำนักเรียน ๓ โรง จำนวน ๑๕๐ คน ๒. ชี้แจงการดำเนินงานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ๓. อบรมให้ความรู้เรื่องวัยทีน ไม่ท้อง ปลอดแท้ง ๔. ประเมินความรู้ ความเข้าใจของแกนนำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมแกนนำนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ อบรมแกนนำนักเรียน โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ อบรมแกนนำนักเรียน โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒
แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ ป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นจำนวน ๓ โรงเรียน จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๑๕๙ คน

 

150 0

2. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วันที่ 24 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

๑. ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานตำบลนมแม่และชี้แจงการดำเนินงาน ๒. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๓. จัดตั้งพัฒนาคลินิคนมในในรพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม โดยจัดบูธสาธิตอาหาร/สมุนไพรเพิ่มน้ำนม มีมุมนมแม่เพื่อสะดวกต่อแม่ที่ต้องการให้นมบุตร ๔. จัดซื้ออุปกรณ์สาธิตสนับสนุนการให้นมแม่ เช่น เต้านมจำลอง ตุ้กตาเด็ก หมอนรองให้นม ถุงเก็บน้ำนมแม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการจัดตั้งคลินิคนมแม่ใน รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม

 

20 0

3. กิจกรรมเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

วันที่ 25 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

เยี่่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด วันที่ ๒๕มิถุนายน - ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒
โดย ๑. ออกติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอดโดยเจ้าพน้าที่และ อสมใในเขตรับผิดชอบ ๒. แจกแผ่นพับพร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว ๓. นัดมารดาหลังคลอดวางแผนครอบครัวและส่งต่อรพ.ทุ่งหว้า ในรายที่ต้องการคุมกำเนิดชนิดยาฝัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่และอสม.เขตรับผิดชอบได้ออกติดตามเยี่ยมบ้านมารดาตั้งครรภ์และมารดาวัยรุ่นและทารกหลังคลอดจำนวน ๒๐ ราย

 

20 0

4. อบรมวัยรุ่นและผู้ปกครอง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

๑. อบรมวัยรุ่นอายุ ๑๒-๑๙ ปี (นอกระบบโรงเรียน,กศน.) จำนวน ๒๐ คน ๒. อบรมผู็ปกครองวัยรุ่น จำนวน ๒๐ คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัยรุ่นและผูู้ปกครองได้รับการอบรม ความรุ้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวนทั้งสิ้น ๔๐ คน

 

40 0

5. ประเมินภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก0-5ปี

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

๑. ประเมินภาวะโภชนาการในหมู่บ้าน ๒ ครั้ง ๒. ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กพัฒนาการล่าช้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. เด็กอายุ  ๐-๖ปีในเตรับผิดชอบ ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการจำนวนทั้งสิ้น  ๘๑ คน
๒. ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ มีผู้ปกครองให้ความสนใจส่งของเล่นเข่้าร่วมประกวดทั้งหมด ๗ ชิ้น มีผู้ได้รับรางวัล ๔ รางวัล

 

280 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. แกนนำนักเรียนได้รับการอบรมความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจำนวนทั้งสิ้น ๓ โรงเรียน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๕๙ คน ๒. กลุ่มวัยรุ่นอายุ๑๒-๑๙ปีและผู็ปกครองจำนวน ๔๐ คน มีความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภืในวัยรุ่น ๓.เจ้าหน้าที่และอสม.ได้ออกติดตามเยี่ยมบ้านมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่น และมารดาวัยรุ่น และทารกหลังคลอดจำนวน ๒๐ ราย ๔. เด็กอายุ ๐-๖ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการจำนวนทั้งสิ้น ๘๑ คน ๕. หญิงตั้งครรภ์ในช่วงอายุ๑๐-๑๙ปี จำนวน ๖ ราย มีการตั้งครรภ์ซ้ำจำนวน ๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖ ๖. หญิงตั้งครรภ์และสามีเข้าร่วมอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน ๒๐ คน พร้อมทั้งทำแบบทดสอบก่อนหลังการเข้าร่วมอบรม ๗. เด็ก ๐-๕ ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการร้อยละ ๙๕ และเด็ก๐-๕ ปีมีภาวะโภชนาการดีรูปร่างสมส่วน คิดเป็นร้อยละ ๕๗ ๘. อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแรกเกิดถึง๖เดือน คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ๙. มีการจัดตั้งคลินิคนมแม่ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ซึ่งในคลินิคนมแม่จะมีป้ายความรุ้ ประโยชน์ของการให้บุตรดื่มนมแม่ วิธีการให้นมบุตร และมีอุปกรณ์สาธิตการให้นมแม่ เช่น ตุ้กตาเด็ก หมอนรองให้นม ถุงเก็บน้ำนมแม่ ๑๐. การประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ มีผู้ปกครองให้ความสนใจส่งของเล่นเข้าร่วมประกวดทั้งหมด ๗ ชิ้น ซึ่งจากการประกวดมีผู้ได้รับรางวัลดังนี้ - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวฮาลีดะห์ สมัยอยู่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ๑ ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ แสงแก้ว รางวัลรองชนะเลิศอันดับ๒ ได้แก่นางสาวกัญญาพัชร ผ่อนย่อง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๓ ได้แก่ นายจักราพันธ์ ทองเจริญ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาและไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัย 2. กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี และผู้ปกครองมีความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลัง คลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน
ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ซ้ำในช่วงอายุ 10-19 ปี ไม่เกินร้อยละ 10
10.00 16.60

หญิงตั้งครรภ์อายุ๑๐-๑๙ปีจำนวน ๖ ราย มีการตั้งครรภ์ซ้ำจำนวน ๑ ราย

2 เด็ก0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับนมจืดส่งเสริมโภชนาการ ๕.เพื่อให้ผู้ปกครองและอสม.สามารถสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ให้แก่บุตรหลานได้
ตัวชี้วัด : เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการร้อยละ 95 และเด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการดีรูปร่างสมส่วน เป้าหมายปี ๒๕๖๒ คิดเป็นร้อยละ ๕๗
57.00 57.00

เด็ก ๐-๕ ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการร้อยละ ๙๕ และเด็ก๐-๕ ปีมีภาวะโภชนาการดีรูปร่างสมส่วนตามเป้าหาย ปี๒๕๖๒ คิดเป้นร้อยละ ๕๗

3 ๖ มีการจัดตั้งคณะทำงานตำบลนมแม่ในเขตตำบลป่าแก่บ่อหิน/ มีคลินิกนมแม่ในรพ.สต บ้านทุ่งดินลุ่ม ๗. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ๘. มีอุปกรณ์สาธิตสนับสนุนการให้นมแม่
ตัวชี้วัด : อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแรกเกิดถึง๖ เดือน เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๕๐
50.00 60.00

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง๖ปี คิดเป็นร้อยละ ๖๐

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 470 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 280 81
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170 159
กลุ่มวัยทำงาน 0 40
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาและไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัย 2. กลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี และผู้ปกครองมีความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลัง คลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน (2) เด็ก0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ  ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับนมจืดส่งเสริมโภชนาการ ๕.เพื่อให้ผู้ปกครองและอสม.สามารถสิ่งประดิษฐ์ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากวัสดุเหลือใช้ให้แก่บุตรหลานได้ (3) ๖ มีการจัดตั้งคณะทำงานตำบลนมแม่ในเขตตำบลป่าแก่บ่อหิน/ มีคลินิกนมแม่ในรพ.สต บ้านทุ่งดินลุ่ม ๗. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ๘. มีอุปกรณ์สาธิตสนับสนุนการให้นมแม่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ๑.สร้างแกนนำนักเรียนป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น (2) อบรมวัยรุ่นและผู้ปกครอง (3) กิจกรรมเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและมารดาวัยรุ่นหลังคลอด (4) ประเมินภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก0-5ปี (5) ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ไม่มี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


วัยรุ่นไม่ท้อง ปลอดแท้ง ลดท้องซ้ำ เด็กยุคใหม่เติบโตดีสมวัย ใส่ใจนมแม่ ประจำปี๒๕๖๒ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5295-1-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสะบัน สำนักพงศ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด