กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายชมรม เพื่อนช่วยเพื่อน ในผู้ป่วยเรื้อรัง
รหัสโครงการ 62-2986-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 21,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจะเสาะ สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2562 16 ก.ค. 2562 21,700.00
รวมงบประมาณ 21,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศ การเจ็บป่วยที่เรื้อรังยาวนานจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยรวม มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม การดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และยังก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรฐกิจ องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นถึงปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและความสำคัญในการจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง การป้องกัน ควบคุม และจัดการได้ด้วยมาตรการที่เหมาะสม ตั้งแต่มาตรการด้านกฎหมาย ควบคุมปัจจัยกำหนด หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเสี่ยง ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดเสี่ยงและเอื้ต่อสุขภาพ และการเข้าถึงระบบบริการที่มีคุณภาพของกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคสามารถควบคุม ป้องกันปัจจัยเสี่ยงร่วม/โอกาสเสี่ยงได้หรือดีขึ้น กลุ่มป่วยสามารถควบคุมสภาวะของโรคได้ ลดภาวะแทรกซ้อน และได้รับการสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานในตำบลตะโละแมะนา ปี 2561 พบว่า มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 109 ราย และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 45 ราย เป็นทั้้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 21 คน มีปัญหาการขาดนัด และควบคุมอาการของโรคไม่ได้ มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้น จากการดำเนินงานที่ผ่านมา แกนนำและผู้ป่วยมีการเรียนรู้และติดตามเยี่ยมบ้าน   ตำบลตะโละแมะนาเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีการจัดการและดูแลตนเองขณะอยู่ที่บ้าน โดยให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจและสามารถดูแลช่วยเหลือกันในชุมชนได้ จนสามารถมีชมรมและมีการช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อช่วยเพื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังเข้าถึงบริการตามนัดอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 เพื่อให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

 

0.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ชมรมมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่1 กิจกรรมอบรมฟื้นฟููความรู้เชิงปฎิบัติการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มผู้ป่วยและแกนนำผู้ดูผู้ป่วยในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 21,700.00 0 0.00
5 มิ.ย. 62 - 5 ก.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้าน Focus Group สมาชิกชมรมแบบกลุ่ม 40 21,700.00 -

ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
  2.1 ขั้นเตรียมการ     2.1.1 จัดประชุมชี้แจงแกนนำชุมชนตำบลตะโละแมะนา     2.1.2 จัดทำแผนปฎิบัติการตามโครงการ     2.1.3 จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ   2.2 ขั้นดำเนินการ     2.2.1 ประชุมชี้แจงทีมงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ     2.2.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย คืนข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้อง     2.2.3 สนุบสนุนการดูแลตนเองในผู้ป่วยเรื้อรัง     2.2.4 ประชาคมและคืนข้อมูลสุขภาพ แกนนำ/อสม./จิตอาสา/ผู้นำชุมชน/ผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อหามตินโยบายสาธารณร่วมกัน     2.2.5 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้เชิงปฎิบัติการ ในการปรับเลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มผู้ป่วยและแกนนำผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน     2.2.6 ติดตามเยี่ยมบ้าน Focus group สมาชิกชมรมแบบกลุ่ม     2.2.7 กิจกรรมโปสเตอร์ประจำบ้าน เพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือส่งต่อกรณีฉุกเฉิน     2.2.8 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1 ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเหมาะสม 1.2 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามสถานะปิงปองจราจร 7 สี ในระดับคงสภาพ และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่่ดีขึ้น ร้อยละ 10

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 10:39 น.