กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน
รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 1 – 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 40,010.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด โดยสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จากการสำรวจข้อมูลความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ปี พ.ศ. 2559 ในเด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 319 คน (กรมสุขภาพจิต) พบว่าเด็กจังหวัดสตูลมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 96.66 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ เฉลี่ย 45.90 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 70) และพบว่าผลการประเมินปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ (เด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 264 คน ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน) อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 8.5 และอยู่ในระดับมีปัญหา ร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังว่าเด็กนักเรียน ป.1 สงสัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) เรียนรู้ช้า และสมาธิสั้น ร้อยละ 2.8, 15.4, 9.1 และ 9.4 ตามลำดับ

จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่าในปี 2561 มีจำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเขตตำบลกำแพง ที่เข้ารับการตรวจวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) จำนวน 25 ราย มีระดับความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 71.79 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) นกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็ก ที่อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสซึมมีจำนวน 8 ราย ปัญหาการเรียนรู้ (LD) จำนวน 8 ราย เรียนรู้ช้า (ID) จำนวน 15 ราย และสมาธิสั้นมีจำนวน 32 ราย และพบว่าในปี 2561 (ข้อมูล ก.ค 61) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจ.สตูล 10.32 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติก จ.สตูล ร้อยละ 58.12 (เกณท์ร้อยละ11) อำเภอละงู พบว่าจำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นร้อยละ 5.41 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติกร้อยละ 30.77 (เกณท์ร้อยละ11)

จากปัญหาดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน” ขึ้น เพื่อค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้
  1. ผู้ป่วยที่พบปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียน ได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 100
100.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน
  1. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 100
  2. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

  3. เด็กวัยเรียนในพื้นที่ของตำบลกำแพงได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยอาสาสมัครในชุมชน และได้รับการส่งต่อมายังสถานบริการ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,010.00 4 38,610.00
1 - 30 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต 0 475.00 475.00
1 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ 0 37,135.00 37,135.00
1 พ.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ 0 0.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,400.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณและการดำเนินการ

  2. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  3. ตรวจสอบ/คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

  4. จัดเตรียม หลักสูตร สถานที่ วัสดุและอุปกรณ์ ในการจัดการอบรม

  5. จัดเตรียมเครื่องมือแบบประเมินทางสุขภาพจิต การประเมินความเครียดและการประเมินโรคซึมเศร้า

ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต (อาสาสมัครในชุมชน และเจ้าหน้าที่)

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ แก่อาสาสมัครในชุมชนและผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม หลักสูตร 2 วัน)

กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ (จำนวน 2 ครั้ง)

  • เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน ลงพื้นที่เยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน
  • ให้คำแนะนำ การช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรมและอารมณ์
  • กรณีพบเด็กที่มีอาการรุนแรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

ขั้นสรุปผล

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในพื้นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
  2. อาสาสมัครในชุมชนมีความรู้ในเรื่องปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 14:53 น.