กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต เขตตำบลกำแพง ประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 1 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต PCU กำแพง และเจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู จำนวน 19 คน ณ ห้องประชุม PCU กำแพง โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชุมดังนี้

  1. ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงวัตถุประสงค์/กิจกรรมโครงการ ในประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

  2. คืนข้อมูลปัญหาสุขภาพจิต และผู้ป่วยจิตเวชในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มารับบริการที่ รพ.ละงู แก่ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในแต่ละหมู่ รวมทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต

  3. มอบหมายให้ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ แจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 5 คน เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว และส่งต่อข้อมูลข่าวสาร


    กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์

จากการประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ประเมินความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2


กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ

การลงติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่โรงเรียน และการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าหลังการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนและผู้ปกครอง ทำให้ผู้ดูแลมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้น ในการดูแล ป้องกันการเกิดความเสี่ยงด้านอารมณ์พฤติกรรมเด็ก มีการเข้าถึงบริการโรคจิตเวชในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยเด็กในพื้นที่ตำบลกำแพง ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็ก ในปี 2562 เป็นจำนวน 9 คน (โรคสมาธิสั้น ออทิสติก 8 คน และโรคซมเศร้า 1 คน ) จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ได้รับการยอมรับและการเข้าใจเรื่องโรคของผู้ปกครองที่มากขึ้นและมีการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการ การเข้าถึงการรักษาโรคและช่อทางการติดต่อระหว่างโรงเรียนกับหน่วยบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและสะดวกมากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ป่วยที่พบปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียน ได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 100
100.00 100.00

 

2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 100 2. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม 3. เด็กวัยเรียนในพื้นที่ของตำบลกำแพงได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยอาสาสมัครในชุมชน และได้รับการส่งต่อมายังสถานบริการ ร้อยละ 100
100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด (กรมสุขภาพจิต) จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่า มีกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม - อารมณ์ เพิ่มขึ้นในทุกปี ที่ผู้ปกครอง คุณครู พาเข้ามารับการรักษา หรือขอคำปรึกษาในโรงพยาบาล โดยจากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยและจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้ 2) เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน , ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน โดยการประเมินความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ก่อนและหลังการอบรม อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารจากทั้งผู้ปกครองและกลุ่มอาสาสมัครในชุมชน เพื่อการติดต่อ สื่อสาร และส่งต่อข้อมูลของเด็ก เพื่อการช่วยเหลือและรักษาต่อไป

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2

ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป นำผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมจากปีที่ผ่านมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแล ให้ความช่วยเหลือเด้กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ ในชุมชนต่อไป โดยการกระตุ้นการทำงานของแกนนำทางด้านสุขภาพจิตเด้กในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลของผู้ปกครองและการประสานกับคุณครูในโรงเรียน เป้าหมายเพื่อให้มีการช่วยเหลือเด็กได้มากขึ้น โดยผ่านช่อทางต่างๆทั้งจากอาสาสมัครในชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ให้การช่วยเหลือร่วมกัน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh