กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม1 เมษายน 2562
1
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนดำเนินกิจกรรม โดยเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 80 เซนติเมตรในเพศหญิง หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

  2. นัดตรวจหาระดับไขมันในร่างกาย ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย เพื่อเป็นมาตรฐานก่อนเริ่มโครงการ

  3. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการ ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตัวที่จะต้องออกกำลังกายโดยการ เช่น เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน-วิ่ง ฟิสเนส เป็นต้น และการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก

  4. ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย

  5. ดำเนินการออกกำลังกายในชุมชน ตามความสนใจ

  • โดยการเต้นแอโรบิค เวลา 17.00-18.00 น. อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์

  • ปั่นจักรยาน

  • เดิน วิ่ง และฟิตเนส เป็นต้น


    เป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน

  • ประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น