กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน และเพื่อลดอัตราโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จากข้อมูลเดิมการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี พบว่า ประชาชนที่มีค่า BMI 25.0 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการได้มีการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ รวมทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักหรืออ้วน หลังจากการตรวจคัดกรองแล้ว ได้มีการดำเนินโครงการโดยการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น

กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน จำนวน 3 ครั้ง โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเกณฑ์อ้วนมากลดลงเหลือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 เกณฑ์อ้วน ลดลงเหลือ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 เกณฑ์ท้วม เพิ่มขึ้นเป็น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.34 ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยยังคงเดิม จำนวน 2 ราย

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร 2. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
80.00 81.67

 

2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ตัวชี้วัด : 1. อัตราโรคแทรกซ้อนของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีอัตราลดลง
50.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น การจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน และประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน ผลการดำเนินโครงการพบว่า จากข้อมูลเดิมการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี พบว่า ประชาชนที่มีค่า BMI 25.0 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการได้มีการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ รวมทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักหรืออ้วน หลังจากการตรวจคัดกรองแล้ว ได้มีการดำเนินโครงการโดยการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน จำนวน 3 ครั้ง โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเกณฑ์อ้วนมากลดลงเหลือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 เกณฑ์อ้วน ลดลงเหลือ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 เกณฑ์ท้วม เพิ่มขึ้นเป็น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.34 ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยยังคงเดิม จำนวน 2 ราย

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh