กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ
รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 2 - 6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 53,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพอนามัยกับการศึกษาเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปการพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน  เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัญหาที่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนที่พบ ได้แก่ นักเรียนฟันผุร้อยละ 40  เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและไม่ได้ใส่ใจเรื่องการแปรงฟัน ส่วนปัญหาไข้เลือดออกพบ ร้อยละ 10  ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมในชุมชน เพราะเป็นชุมชนแออัดและมีสภาพแวดล้อมรอบๆ ชุมชนเป็นที่ชุกของยุง ที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆ มาสู่ชุมชน จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนและชุมชนต้องให้ความร่วมมือกัน ในการป้องกัน และแก้ไข เพื่อลดปัญหาดังกล่าว เพื่อที่จะให้บุตรหลานมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ และส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงต่อไป

    โรงเรียนบ้านตูแตหรำได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้ จักการบริโภคอาหารอย่างชาญฉลาด รู้จักการป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้ นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้และสนุกสนานกับการออกกำลังด้วยกีฬาประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียน
  1. นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
  2. ห้องเรียนร้อยละ 90 มีมุมอนามัยในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน
  1. นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องในฐานความรู้ต่าง ๆ
  2. แกนนำนักเรียนร้อยละ 100 เป็นแกนนำดำเนินงานด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  3. นักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และมีสุขภาพแข็งแรง
90.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนร่วมมือ ร่วมใจ จัดการสภาพแวดล้อมในชุมชนและโรงเรียน
  1. ร้อยละ 80 โรงเรียนและชุมชน มีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล
  2. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53,670.00 5 52,470.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมฝึกฝนกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพ 0 14,000.00 14,000.00
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ในรูปแบบค่ายกระตุ้นความรู้ (One Day camp) 0 23,300.00 23,300.00
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนและโรงเรียน 0 4,375.00 4,375.00
1 - 30 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้และสอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับนักเรียน 0 9,595.00 9,595.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง 0 2,400.00 1,200.00

วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียม

  1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ

  3. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ


    ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 ค่ายกระตุ้นความรู้ ( One Day camp) โดยแบ่งฐานให้ความรู้แก่นักเรียน จำนวน 4 ฐาน ดังนี้

    - ฐานที่ 1 ฟื้นฟูและทบทวนการดูแลสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ (สร้างแกนนำอนามัยโรงเรียน)     - ฐานที่ 2 การเลือกบริโภคอย่างชาญฉลาด (สร้างแกนนำ อย.น้อย)
    - ฐานที่ 3 รู้ทันโรคป้องกันโรคติดต่อใกล้ตัวในชุมชน (สร้างแกนนำ อสม.น้อย)
    - ฐานที่ 4 การป้องกันภัยห่างไกลยาเสพติด (สร้างแกนนำตำรวจ สารวัตรน้อย)


กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนและโรงเรียน

2.1 จัดกิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านเรือนและชุมชน

2.2 แกนนำ อสม.น้อย และแกนนำคณะครู ลงพื้นที่ในชุมชนสำรวจบ้านเรือนและคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง เพื่อป้องกันแหละเพาะพันธ์ของยุง

2.3 แกนนำ อสม.น้อย ลงติดตามผลบ้านเรือนในชุมชน


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน

3.1 นักเรียนแต่ละชั้นเรียน จัดมุมส่งเสริมสุขภาพและทันตสุขภาพภายในห้องเรียน

3.2 จัดซื้ออุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน

3.3 นักเรียนแกนนำอนามัยโรงเรียน สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับนักเรียนในโรงเรียน

3.4 บันทึกสุขภาพช่องปากนักเรียนแต่ละชั้นเรียน


กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกายและส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนให้นักเรียนเรียนรู้และส้งเสริมพัฒนาการ โดยใช้ตารางเก้าช่อง (กิจกรรมต่อเนื่อง)

4.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น

4.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้นักเรียนรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

4.4 กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน เช่น การวิ่งสามขา เกมอุ้มแตง ชักกะเย่อ เดินกะลา เป็นต้น


ขั้นสรุปผล

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหาร การป้องกันโรคติดต่อและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  2. โรงเรียนและชุมชน มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ห่างไกลจากโรค
  3. ห้องเรียนมีมุมส่งเสริมสุขภาพ และนักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
  4. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 10:22 น.