กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลตันหยงลุโละ ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 17/2562
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.877,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 20,700.00
รวมงบประมาณ 20,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
7.56

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา  จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน  อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน  ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร  ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง  การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๕ ปี) ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลตันหยงลุโละ งวดที่ ๑ (ตุลาคม ๖๑ – ธันวาคม ๖๑) พบว่าเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๗.๕๖ (ข้อมูลจาก HDC) ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข  กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ ๗  และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน  เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย  เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละของเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,700.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 0 20,700.00 -
  1. เขียนโครงการขออนุมัติ
  2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานแก่ อสม./ ผู้นำชุมชน
  3. ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  4. จ่ายอาหารเสริม(นมกล่อง)แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ วันละกล่องเป็นเวลา ๖๐วัน พร้อมประเมินผล โดยการชั่งน้ำหนักเทียบทุกเดือน
  5. มอบหมายให้ อสม.เป็นพี่เลี้ยงตามละแวกรับผิดชอบ ดูแล ติดตามเป็นประจำทุกเดือน
  6. ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพในเด็ก
  7. ในภาวะที่พบขาดสารอาหารรุนแรงประสานงานกับโรงพยาบาลปัตตานีเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ
  8. ประเมินและสรุปผลการประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กก่อนวัยเรียน  มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก ๐-๕ ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 10:40 น.