กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันละค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตำบลตันหยงลุโละ ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 16/2562
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2019 - 30 กันยายน 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2019
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.877,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2019 30 ก.ย. 2019 11,000.00
รวมงบประมาณ 11,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคกินยาไม่ต่อเนื่อง
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีต แต่ในระยะหลังกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรค จากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์กรอนามัยโลก มีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ ๙๐ แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่รียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงซึ่งหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือบุคคลในครอบครัว เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนรักษาหาย ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป จำนวนผู้ป่วยวัณโรค รพ.สต.ตันหยงลุโละ ตั้งแต่ ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ จำนวน ๔ ราย ๔ ราย ๕ รายตามลำดับ อัตราการรักษาหาย จำนวน ๔ ราย ๔ ราย ปี ๒๕๖๑ กินยาไม่ต่อเนื่องทำให้ต้องเริ่มกินยาใหม่ ๑ ราย เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนละร่มกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาวัณโรคให้หายขาด โดยการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และวิธี DOTS ในระดับชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานแก่ อสม./ ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 0 11,000.00 -
  1. เขียนโครงการขออนุมัติ
    1. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานแก่ อสม./ ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
  2. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม
  3. รูปแบบการอบรบใช้วิธีการบรรยาย
  4. ค้นหาและตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้งในสถานบริการและชุมชน
  5. ประเมินและสรุปผลการประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังละต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2019 10:58 น.