กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ
รหัสโครงการ 62-L8405-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2562
งบประมาณ 17,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาณิศา น้อยสร้าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.03,100.537place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความปลอดภัยของผู้บริโภถ ในการใช้ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายของชำในชุมชน
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับด ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้าและเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดเช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่จากการดเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่าการใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากการใช้ของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายขชองชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำและจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริดภคทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพ

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานของร้านขายของชำในชุมชน

ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16.00 0 0.00
25 เม.ย. 62 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 11.00 -
25 เม.ย. 62 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมเสริมทักษะศักยภาพ 0 5.00 -
  1. สำรวจผู้ประกอบการร้านขายของชำ
  2. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน
  3. จัดเตรียมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ

- ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล - การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำ -เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ออกตรวจเฝ้าระวังร้านขายของชำในหมู่บ้าน - การติดตามและประเมินผล 5. สรุปและประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ
  2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
  3. ร้านขายของชำในพื้นที่ที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 15:57 น.