กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รหัสโครงการ 62-L4131-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 15,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไลลา ดะแซสาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตฒน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเทอร์เนตสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตัวเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสมและขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาจึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่าว 20 ปี ของไทยเพิ่มสูงเป็นอันดัที่ 1 ของเอเชียและจากการสำรวจพบว่าเยาวชนมีความรู้เรื่องเพศศึกษาการคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกายและไม่ได้รับอาหารเสริมบุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงน้ำหนักน้อย บางรายหาทางออกโดยวิธีทำเเท้ง ผลจากการทำเเท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนเเรงจนอาจเสียชีวิตได้ จากการสำรวจหญิงตั้งครรภ์ อายุต่ำกว่า 17 ปีในพื้นที่รับผิดชองของ รพ.สต. บ้านอัยเยอร์เวง พบ 9 ราย ซึ่งมีโอกาสพบความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์สูง และ เพื่อให้นักเรียนเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเเละพัฒนาการทางเพศของตนเอง อย่างต่อเนื่อง โดยให้เด็กเเละเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อ เปิดโอกาสให้เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การเเก้ไขเเละการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา พัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา พัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

0.00
2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

เยาวชนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

0.00
3 เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง โดยปฏิบัติอยู่ในกรอบศาสนา

เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง โดยปฏิบัติอยู่ในกรอบศาสนา

0.00
4 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และก่อนวัยอันควร ภาวะซีด

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์อัตราคลอดมีชีพ ไม่เกิน 40 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี/1000 คน

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 15,550.00 1 15,550.00
1 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้ในกลุ่มเยาวชนวัยรุ่น 100 15,550.00 15,550.00

ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษาข้อมูลวัยรุ่นในพื้นที่ 2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบ 3. จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ 1. สำรวจข้อมูล ปัญหาวัยรุ่นในพื้นที่ โดยทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านอัยเยอร์เวง แกนนำอสม. 2. จัดเก็บข้อมูลวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อการนำไปใช้สำรวจข้อมูลและการขับเคลื่อนโครงการ 3. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษา
      4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยทีม กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการ โดยทีมกำกับติดตามและประเมินผลร่วมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลบ้านอัยเยอร์เวง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนวัยรุ่นในตำบลอัยเยอร์เวง มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของวัยรุ่น
  2. เยาวชนมีความรู้และมีทักษะ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษา
  3. เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้คุณค่าของตนเอง
  4. มีเครือข่ายในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 07:05 น.