กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา เพื่อการส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชน ในการสื่อสารกับบุตรหลานวัยรุ่น (กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย”)
รหัสโครงการ 62-L7250-02-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (.......นายเอกชัย กิ้มด้วง......) ตำแหน่ง...ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 2....
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 397,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (.......นายเอกชัย กิ้มด้วง......) ตำแหน่ง...ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 2....
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รัฐบาลกำหนดเป็นวาระเร่งด่วนโดยมีนโยบายกำหนดให้ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มีการมอบหมายภารกิจตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ กระทรวงมหาดไทย โดยนโยบายการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.๒๕๕๙ กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีทรัพยากรในการทำงาน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องช่วยกันนำพาขับเคลื่อนหนุนเสริมเพื่อให้วัยรุ่นและครอบครัวมีความรู้เรื่องเพศศึกษามากขึ้น มีทักษะชีวิตที่ดี มีพฤติกรรมที่เหมาะสมสามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการต่างๆ มากขึ้น เพราะปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการจากกรอบการประเมิน 3 มิติ คือ มิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. มิติประสิทธิผล การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา  กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถจัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้จำนวน 38 รอบ กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมถึง 1,556 คน ผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
2. มิติประสิทธิภาพ การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา  กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับหนึ่ง กล่าวคือ ภาคีผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะวัยรุ่น เห็นความสำคัญ และสามารถประสานความร่วมมือในการกำหนดทิศทาง วางแผนงาน ติดตามกำกับ และสนับสนุนกิจกรรมโครงการในลักษณะบูรณาการจากทุกภาคส่วนในสังคม เห็นได้ชัดเจนจากโครงสร้างคณะทำงานโครงการที่กำหนดให้มีผู้แทนคณะทำงานจากองค์ประกอบของพื้นที่จากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะวัยรุ่นให้มีความชัดเจน ครอบคลุม และตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ส่งผลให้โครงการมีการวางแผนอย่างบูรณการ และร่วมสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ที่จะนำไปสู่ความการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน ในส่วนของกิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเป็นเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร ได้เห็นบทบาทของตัวเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน และได้ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ เสียงสะท้อนจากพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม พ่อแม่ ผู้ปกครอง มี ความรับรู้ ข้อมูล ทัศนะ และ ทักษะสื่อสารในครอบครัว ที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาวัยรุ่นในการใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจาก การใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเกิดเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมดูแลลูกๆ หลานๆ ร่วมกับโรงเรียน ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโครงการ 3. ความคุ้มค่า โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเทศบาลนครสงขลา กิจกรรมเปิดห้องเรียน(อบรม)พ่อแม่ “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” มีความคุ้มค่าในการดำเนินงานเนื่องจากการทำงานในเชิงกระบวนการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ มีเป้าหมายปลายทางเพื่อลดปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่สำคัญคือเป็นการทำงานในมิติของการป้องกัน พ่อแม่ได้ทบทวนช่องว่างที่เกิดขึ้นกับลูกและได้วิธีแนวทางสื่อสารเชิงบวกกับลูกหลานและสมาชิกในบ้าน สร้างพ่อแม่ที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เข้าใจลูก เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนอย่างแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรม จำนวน 486,975 บาท กับจำนวนพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,556 คน พบว่าค่าใช้จ่ายต่อประชาชน 1 คนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นค่าใช้จ่ายเพียง 324.60 บาทต่อคน นอกจากนี้ยังสามารถระดมทรัพยากรทั้งงบประมาณ อุปกรณ์ บุคลากร จากภาคีเครือข่าย มาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ อันเป็นการสร้างความคุ้มค่าให้แก่การดำเนินโครงการเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศ แล้วครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ /ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ“เปิดใจคุย” อันเป็นที่มาของการประสานความร่วมมือกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการพัฒนาสุขภาวะเยาวชนมายาวนาน และร่วมมือกับเชฟรอนมาในหลายโครงการมากกว่าแปดปี เพื่อให้เข้ามาเป็นหน่วยวิชาการและขับเคลื่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ตื่นตัวขึ้นมาร่วมกันออกแบบ วางแผน และดำเนินงานร่วมกัน โดยมีหัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจาก การใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสาร
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลาน ในระดับมาก (แบบสอบถามสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม) แบบสอบถาม Pre-Test , Post-Test
80.00
2 2. เห็นบทบาทของตนเองในการพูดคุยเชิงบวก และเป็นที่พึ่งในบ้าน 3. ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ
  1. ร้อยละ 80 ของบุตรหลานผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจ สัมพันธภาพในครอบครัว การสื่อสารเพื่อสร้างสุขภาวะทางเพศในเยาวชน อยู่ในระดับดี (แบบสอบถามสำหรับบุตรหลานที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม) แบบสอบถาม
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุม ชี้แจง คณะทำงานโครงการ 2.นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา 3.เตรียมแผนปฏิบัติงาน 4.จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา 5.จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์พ่อแม่ สร้างแกนนำพ่อแม่ 6. จัดทำแบบประเมินผล
7. ประเมิน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตนคติ การสื่อสารในครอบครัว และทักษะที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น 8. สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังดูแลบุตรหลานในชุมชนได้รับการทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้สื่อสารในเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศ และใช้ชีวิตทางเพศอย่างรับผิดชอบ 2.พ่อแม่ ผู้ปกครอง วัยรุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตนคติ และทักษะที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น 3.เกิดการระดมทรัพยากรจากท้องถิ่นมาร่วมสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ 4.พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าร่วม และสนับสนุนการทำงานของโครงการ และเกิดแกนนำที่สามารถเป็นปากเสียงและผลักดันการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นต่อเนื่องหลังโครงการสิ้นสุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 09:40 น.