กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลเทพา
รหัสโครงการ 62-L8287-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 15 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 21,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์เดชา แซ่หลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด ผอ.กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 15 ก.ย. 2562 21,280.00
รวมงบประมาณ 21,280.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขปัญหาหนึ่งของตำบลเทพา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตำบลเทพาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกปี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และพบการระบาดครั้งใหญ่ในปี 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 95 ราย อัตราป่วย 902.30 ต่อประชากรแสนคน ปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 21 ราย อัตราป่วย 177.35 ต่อประชากรแสนคน ส่วนปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 59.12 ต่อประชากรแสนคน และคาดการณ์ว่าปี 2562 นี้จะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหลายพื้นที่ของอำเภอเทพา การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่พักอาศัยของประชาชนทั้งภายในบ้านและบริเวณนอกบ้าน ซึ่งหากประชาชนทุกคนมีความตระหนักและร่วมกันดูแลสภาพแวดล้อมให้ดี ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย จะทำให้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเทพา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลเทพาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเทพา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลเทพาปลอดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในพื้นที่ตำบลเทพามีดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายเป็น 0

100.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (HI,CI ไม่เกิน 10)

100.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเทพา

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกปี ๒๕๖๒ ลดลงจากมัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลังไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 552 16,030.00 6 16,030.00
1 พ.ค. 62 - 15 ก.ย. 62 1. กิจกรรม Big cleaning ต.เทพา รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกหมู่บ้านในเขต อบต.เทพา 400 8,750.00 8,750.00
1 พ.ค. 62 - 15 ก.ย. 62 6. กิจกรรมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน สุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้านในเขต อบต.เทพา 4 1,440.00 1,440.00
1 มิ.ย. 62 - 31 ก.ค. 62 2. กิจกรรมอบรมสารวัตรปราบลูกน้ำ อบรมแกนนำนักเรียนเพื่อเป็นสารวัตรปราบลูกน้ำ เป้าหมายเป็นโรงเรียน ศพด.และสถาบันปอเนาะ ทุกแห่งในเขต อบต.เทพา 100 4,400.00 4,400.00
1 - 31 ก.ค. 62 3. กิจกรรมนิเทศติดตามโรงเรียนปลอดลูกน้ำ นิเทศติดตามการดำเนินงานโรงเรียนปลอดลูกน้ำในโรงเรียน/ศพด. สถาบันปอดเนาะทุกแห่งในเขต อบต.เทพา 4 480.00 480.00
1 - 30 ส.ค. 62 4. กิจกรรมประเมินโรงเรียนปลอดลูกน้ำ ประเมินการดำเนินงานโรงเรียนปลอดลูกน้ำในโรงเรียน/ศพด. สถาบันปอดเนาะทุกแห่งในเขต อบต.เทพา 4 960.00 960.00
2 - 13 ก.ย. 62 5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบเกียรติบัตรโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 40 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.เขียนโครงเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา 2.ทุกหมู่บ้านประชุมวางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรมทำความสะอาดหมู่บ้าน(Big cleaning ต.เทพา) 3.กิจกรรม Big cleaning ต.เทพา 4.อบรมสารวัตรปราบลูกน้ำ 5.นิเทศติดตามโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 6.ประเมินโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 7.แลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบเกียรติบัตรโรงเรียนปลอดลูกน้ำ 8.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอันจะนำไปสู่การลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเทพา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 10:03 น.