กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์และส่งเสริมสุขภาพเด็กเชิงรุกสู่ชุมชน
รหัสโครงการ 62-L8287-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 15 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 32,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์เดชา แซ่หลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 15 ก.ย. 2562 32,950.00
รวมงบประมาณ 32,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตสังคมไทยที่เคยเป็นครอบครัวขยายก็กลายเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้น การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูลูกในวัยต่างๆตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น บิดามารดามีเวลาในการเลี้ยงดูลูกน้อยลง สถาบันครอบครัวอ่อนแอจนอาจเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กในระยะยาว ปัจจุบันพบว่าจังหวัดสงขลามีอัตรามารดา และทารกเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากโรคแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ( HT DM Thyroid Heart และ PPH)จากการเก็บข้อมูลอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสงขลา 3ปีย้อนหลังพบปี59เสียชีวิต 4 รายปี60 เสียชีวิต5 ราย ปี61 เสียชีวิต 4 ราย ส่วนอำเภอเทพาปี61 พบแม่เสียชีวิตด้วยHT จำนวน 1 รายส่วนในเขตพื้นที่คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1-2 ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลายังไม่พบมารดาเสียชีวิตแต่พบภาวะเสี่ยงดังนี้ ปีงบประมาณ 2559-2561 พบอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10) ร้อยละ 18.19,ร้อยละ 6.47 และร้อยละ 1.85 ตามลำดับ พบอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หลังจากกินยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 50) 36.66,ร้อยละ27.27 และร้อยละ 2.44 ตามลำดับ  ทารกน้ำหนักต่ำกว่า ๒๕๐๐ กรัม ร้อยละ12.5,ร้อยละ 8.22 และร้อยละ 9.23 ตามลำดับ มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 60.66 ,ร้อยละ 74.11 และร้อยละ 55.10 ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2559-2561 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 87.23,ร้อยละ 99.30 และร้อยละ 97.20 ตามลำดับ
        ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเริ่มตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์มารดาจนกระทั่งคลอด และดูแลตามวัยจนกระทั่งอายุ 5 ปีให้มีความปลอดภัยทั้งชีวิตมารดาและทารก ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์1-2 จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มแม่และเด็ก ในพื้นที่เขตรับผิดชอบโดยการสร้างความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่ดี ในทุกๆรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ได้รับการดูแลตามมาตรฐานอนามัยแม่อย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 60
  2. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 60
  3. ร้อยละหญิงคลอดอายุน้อยกว่า 20 ปี น้อยกว่าร้อยละ 10
  4. ร้อยละทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7
  5. ร้อยละมารดาและบุตรได้รับการดูแลหลังคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 65
60.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  1. ร้อยละการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มากกว่าร้อยละ 35
35.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
  1. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 1 น้อยกว่าร้อยละ 10
  2. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 2และโลหิตจางครั้งแรก น้อยกว่าร้อยละ 50
  3. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 2แต่ครั้งแรกไม่มีภาวะโลหิตจางอย่างน้อย 1ครั้ง/ปี น้อยกว่าร้อยละ 30
  4. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 3 น้อยกว่าร้อยละ 10
10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 720 32,500.00 4 32,500.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 1.ตรวจคัดกรองหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ 200 5,000.00 5,000.00
1 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 2.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่(หญิงตั้งครรภ์) จำนวน 2 ครั้ง 230 11,500.00 11,500.00
1 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 3.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ (พ่อแม่เด็ก 0-5 ปี) 240 11,000.00 11,000.00
1 ก.ค. 62 - 30 ต.ค. 62 4.กิจกรรมเฝ้าระวัง ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง( HT DM Thyroid Heart และ PPH) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคีเครือข่าย 50 5,000.00 5,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ตรวจคัดกรองหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ - ตรวจคัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ - จ่ายยา Fulic Acid และFerrous Fumarate

2.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่(หญิงตั้งครรภ์) จำนวน 2 ครั้ง   - กิจกรรมเตรียมความพร้อมคู่สามีภรรยาก่อนการตั้งครรภ์และป้องกันภาวะซีดในคู่สามีภรรยาด้วยการคัดกรองคู่แต่งงานใหม่
  - ตรวจคัดกรองภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และสามี   - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ โดยพ่อแม่ตัวอย่าง   - อบรมให้ความรู้ความพร้อมในการเป็นพ่อแม่   - ถอดบทเรียนโดยใช้หลัก BodyPaint

3.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ (พ่อแม่เด็ก 0-5 ปี)   - อบรมและเสริมพลังให้แก่แกนนำนมแม่   - ติดตามภาวะสุขภาพเด็ก0-5ปี   - อบรมการดูแลเด็ก 0-5 ปีให้แก่ผู้ปกครอง   - ถอดบทเรียนโดยใช้ Bodypaint
4. วิเคราะห์สถานการณ์การตายมารดาตามสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่
  - ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อเข้า ติดตามผลการดำเนินงานของPCU1-2   - เยี่ยมเสริมพลัง รับฟังสภาพปัญหา อุปสรรค และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- จัดทำมาตราการลด การตายที่เหมาะสมกับพื้นที่ - เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดทุกราย 2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง 3. เด็ก 0 – 6 ได้รับด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน 4. เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกช่วงวัย 5. หญิงวัยเจริญพันธ์ที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองภาวะซีด เมื่อตั้งครรภ์ไม่มีภาวะซีดครั้งที่1 6. ไม่มีมารดาเสียชีวิตเกิดขึ้นในพื่นที่PCU1-2

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดทุกราย
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็ก 0 – 6 ได้รับด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน
  4. เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 11:07 น.