กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโาคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองนุ้ย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต. บ้านคลองนุ้ย
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายจิตร อินทมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งในระดับประเทศ จังหวัด และระดับพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา มักจะมีการะบาดของโรค ลักษณะปี เว้นสองปี โดยมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น และมีอัตราการตายสูงขึ้นด้วย จึงนับเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่มีความสำคัญและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทาง กลวิธีหรือกิจกรรมในการป้องกันและควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิ์ผล ซึ่งต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอโดยอาศัยความร่วมมือ การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรในชุมชนที่มีบทบาทที่สำคัญในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จากสถิติข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง5 ปี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านควนอินนอโม ได้แก่ หมู่ที่ 6,7,8 และ 10 ตำบลตะโหมดพบว่า ปี 2557 มีผู้ป่วย 3 ราย ปี 2558 มีผู้ป่วย ๑๙ ราย ปี 2559 มีผู้ป่วย 14 ราย ปี 2560 ไม่มีผู้ป่วย ปี 2561 มีผู้ป่วย 10 ราย จะเห็นได้ว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปี ถ้าไม่มรการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือไม่มีมาตรการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุม หากมีการระบาดของโรคจะเกิดผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ป่วย ชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองนุ้ย

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร และไม่มรผู้ป่วยตาย

0.00
2 เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชน ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมใน

การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ

0.00
3 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองนุ้ย มีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพ

หมู่บ้านเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองนุ้ย มีค่า Hl = 0 Cl น้อยกว่า 10 %

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36.00 0 0.00
19 เม.ย. 62 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และควบคุมโรค 0 36.00 -

ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ - ประชุมชี้แจงโครงการแก่ภาคีเครือข่าย เช่น อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน และกลุ่มองค์กรต่างๆ - จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
- จัดกิจกรรรนณรงค์ ต้านภัยไข้เลือดออก ขอความร่วมมือประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรม - ดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน - การเฝ้าระวังและป้องกันโรคล่วงหน้า ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก จัดกิจกรรมรนณรงค์ การแจกจ่ายทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- การควบคุมการระบาดของโรค ได้แก่ สอบสวนและรายงานโรคทันทีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายแรกที่เกิดขึ้นในหมูบ้าน ดำเนินการควบคุมการระบาดของโรค - ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ - สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลหลังสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านควนอินนอโม มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุบโรคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 2 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบลดลง และไม่มีผู้ป่วยตาย 3 มีการบูรณาการ ประสานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพ องค์กรในชุมชน ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 14:57 น.