กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคทุกกลุ่มวัยแบบองค์รวม พื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
รหัสโครงการ 62-L7250-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ( นางอรัญญา พรหมวิจิตร ) ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 62,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นางอรัญญา พรหมวิจิตร ) ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1970 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของประเทศไทย พบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา รพ.สงขลา พบปัญหาที่สำคัญใน  ๖ กลุ่มโรค คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย หัวใจและหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก) กลุ่มแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่พร้อม ฝากครรภ์ไม่ได้มาตรฐาน ภาวะซีด ลูกน้ำหนักน้อย) กลุ่มเด็ก ๐ – ๕ ปี (งานภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการเด็ก น้ำหนักน้อย) กลุ่มผู้สูงอายุ (การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อเนื่อง) กลุ่มโรคติดต่อ ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ไทฟอยด์ วัณโรค กลุ่มพิการ-จิตเวช และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
    การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและครบทุกมิติต้องดูแลทุกช่วงวัย ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย โดยทีมสาธารณสุข ที่มีความรู้ ชำนาญ การมีส่วนร่วมของแกนนำสาธารณสุขในพื้นที่ ของเทศบาลนครสงขลา และภาคีอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตเหมาะสมตามกลุ่มวัยอายุ ครบทั้ง๕มิติ มิติด้านส่งเสริมสุขภาพ มิติด้านป้องกันควบคุมโรค มิติด้านรักษาพยาบาล มิติด้านฟื้นฟูสุขภาพ และมิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค     ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา รพ.สงขลา มีประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๕,๖๕๐ คน ๒,๒๓๘ ครัวเรือน ซึ่งประชาชนเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลาโดยมีผลงานการให้บริการย้อนหลัง๓ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน/เสียชีวิตขณะตั้งครรภ์จนคลอด

0.00
2 ๒. เพื่อป้องกันประชากรกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตรายใหม่

๒.ร้อยละ๙๐ ของเด็กอายุ  ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

90.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรคและลดภาวะแทรกซ้อนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

๓.ร้อยละ๙๓ ของเด็กอายุ  ๐-๕ ปี  พัฒนาการสมวัย

93.00
4 ๔ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

๔.ร้อยละ๙๐ ของประชาชน ๓๕ ปีขึ้นไป  ได้รับการคัดกรองสุขภาพ

90.00
5 ๕. เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยง

๕.ร้อยละ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังใหม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00
6 ๖. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐานฝากครรภ์คุณภาพ หญิงครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลที่เหมาะสม

๖.ร้อยละ๕ ของการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่

5.00
7 ๗. เพื่อให้ร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CFGT ผู้บริโภคปลอดภัย

๗.ร้อยละ๙๐ ผู้ป่วยเรื้อรังที่รับบริการที่  PCU  ได้รับการดูแลและตรวจตามมาตรฐานเฉพาะโรค

90.00
8 ๘. เด็กวัย ๐-๖ ปี มีการเจริญเติบโต รับวัคซีนขั้นพื้นฐานและมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย

๘.ร้อยละ๕  ผู้ป่วยเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่

5.00
9 ๙. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพทั้งด้านร้างกาย อารมณ์ สังคม อย่างต่อเนื่อง

๙.ร้อยละ๘๐  หญิงอายุ  ๓๐ – ๗๐ ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง
๑๐.ร้อยละ20  หญิงอายุ ๓๐- ๖๐ ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
๑๑.ร้อยละ๘๐ ของร้านอาหารที่ต้องผ่านเกณฑ์ GFGT

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงติดตาม – ประเมินผลงานภาคประชาชน การประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตามผลงาน
๒. การคัดกรองสุขภาพ ติดตามภาวะโภชนาการ พัฒนาการ วัคซีนในชุมชน ๓. การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่รพ.เมืองสงขลา
๔. การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการให้ความรู้ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มปกติ เสี่ยงสูง ป่วย ๕. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน ๖. การตรวจประเมินร้านอาหาร /ขายของชำ
๗. กิจกรรมสำรวจคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพ/คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง ๘. การติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนได้รับบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมมีความพึงพอใจเชื่อมั่นศรัทธาต่อการรับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลาและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลและพึ่งตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 09:42 น.