กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัยแบบองค์รวม ในศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L7250-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางสาวปาริชาติ ธนากุลรังษี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 110,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาริชาติ ธนากุลรังษี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4662 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของประเทศไทย พบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคอุบัติใหม่ โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง อุบัติเหตุ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขในทุกระดับ จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข รพ.สงขลา พบปัญหาที่สำคัญใน 6 กลุ่มโรค คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย หัวใจและหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก) กลุ่มแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่พร้อม ฝากครรภ์ไม่ได้มาตรฐาน ภาวะซีด ลูกน้ำหนักน้อย) กลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี (งานภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการเด็ก น้ำหนักน้อย) กลุ่มผู้สูงอายุ (การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อเนื่อง) กลุ่มโรคติดต่อ ไข้เลือดออก ชิกุนคุนย่า อุจจาระร่วง ไทฟอยด์ วัณโรค กลุ่มพิการ-จิตเวช และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ วิญญาณและสังคมที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกัน ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขรพ.สงขลา ร่วมกันดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 7 ชุมชน ให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมตามกลุ่มวัยอายุ ครบทุกมิติ มิติด้านส่งเสริมสุขภาพ มิติด้านป้องกันควบคุมโรค มิติด้านรักษาพยาบาล มิติด้านฟื้นฟูสุขภาพ และมิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคในโรงเรียนแจ้งวิทยาและวัดมัชฌิมาวาส ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขรพ.สงขลา มีประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 8,008 คน 2,644 ครัวเรือน ซึ่งประชาชนเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข โดยมีผลงานการให้บริการย้อนหลัง3ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มประชากรทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามเกณฑ์มาตรฐาน

1.ร้อยละ60 มารดาตั้งครรภ์ก่อน  12  สัปดาห์ ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก
2.ร้อยละ60 มารดาตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ตามมาตรฐาน5 ครั้ง

60.00
2 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงป้องกันเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

3.ร้อยละ90 ของเด็กอายุ  0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
4.ร้อยละ93 ของเด็กอายุ  0-5 ปี  พัฒนาการสมวัย

93.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง – ติดเตียงระยะสุดท้าย – ผู้พิการ – ผู้สูงอายุพึ่งพา – พึ่งพิง ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค และลดภาวะแทรกซ้อนตายให้สมศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

5.ร้อยละ80 ของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังใหม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
6.ร้อยละ5 ของการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่
          7.ร้อยละ90 ผู้ป่วยเรื้อรังที่รับบริการที่  PCU  ได้รับการดูแลและตรวจตามมาตรฐานเฉพาะโรค
8.ร้อยละ5  ผู้ป่วยเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่
9.ร้อยละ80  ของผู้ป่วยเรื้อรัง  ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ(ด้อยโอกาส)  ผู้ป่วยระยะสุดท้าย  ได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ
10.ร้อยละ80  หญิงอายุ  30 – 70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง
11.ร้อยละ20  หญิงอายุ  30 – 60 ปี  ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
12.ร้อยละของการตั้งครรภ์หญิงอายุ  15 -19  ปีน้อยกว่าร้อยละ  20 13.ร้อยละ80 ของร้านอาหารที่ต้องผ่านเกณฑ์ GFGT

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงติดตาม – ประเมินผลงานภาคประชาชน การประชุมวางแผน การดำเนินงาน ติดตามผลงาน ด้านสุขภาพ ๒. การประชาสัมพันธ์งานด้านสาธารณสุขในรูปแบบหลากหลาย สื่อต่าง ๆ
๓. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครู และแกนนำนักเรียน นักเรียนกลุ่มเสี่ยง ร.ร.แจ้งวิทยา/วัยเรียนในชุมชน เรื่องป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น/การป้องกันยาเสพติด/การควบคุมโรค BigCleaningDay วัด/โรงเรียน       4. การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการให้ความรู้ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มปกติ เสี่ยงสูง ป่วย 5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน 6. การจัดบริการเยี่ยมบ้าน การดูแลผู้ป่วยติดเตียง/ระยะท้าย/ผู้พิการด้อยโอกาส 7. การตรวจประเมินร้านอาหาร /ขายของชำ
8. กิจกรรมสำรวจคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพ/คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง 9. การติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนได้รับบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมมีความพึงพอใจเชื่อมั่นศรัทธาต่อการรับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลและพึ่งตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 09:58 น.