กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงแบบเชิงรุก
รหัสโครงการ 62-L5226-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพเทศบาลตำบลระโนด
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 38,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสลา ล่องสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 เม.ย. 2562 30 เม.ย. 2562 33,900.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ก.ค. 2562 4,800.00
รวมงบประมาณ 38,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลเยี่ยมบ้านและการประเมินคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรังของคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ใน 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการควบคุมโรคได้ในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงลดลง อัตราการหยุดยาเองเพิ่มขึ้น และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคไตวาย โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต โรคหัวใจ โดยข้อมูลจากคลินิคเวชปฏิบัติครอบครัวปีงบ 2561 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน 354 คน ควบคุมโรคไม่ได้ 290 คน คิดเป็น 81.92% ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 782 คน ควบคุมโรคไม่ได้ 613 คน คิดเป็น 78.39% ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ และหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นทำให้ต้องเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ต้องใช้การฟื้นฟูระยะเวลานาน รวมทั้งส่งผลให้เกิดความพิการหรือเสียขีวิตได้สูง และต้องการผู้ดูแล-รักษาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและชุมชนตามมา   ดังนั้น ทางชมรมพัฒนาสุขภาพเทศบาลตำบลระโนด ร่วมกับคลินิคเวชปฏิบัติครอบครัว ได้ให้ความสำคัญและเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงแบบเชิงรุกขึ้น เพื่อส่งเสริม/เสริมศักยภาพผู้ป่วยในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรค และตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนให้มากขึ้น เพื่อจะได้ควบคุม/รักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการขึ้น ู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคได้มากขึ้น
  1. ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคได้ ร้อยละ 40
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และไตวาย
  1. ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ไม่เกินร้อยละ 10
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราการขาดนัด/ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา
  1. อัตราการขาดนัด/ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาไม่เกิน ร้อยละ 10
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,700.00 0 0.00
25 - 30 เม.ย. 62 ัจัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เยี่ยมบ้านประเมินปัญหาร่วมกับแกนนำ ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย อบรมพัฒนาแกนนำโรคเรื้อรังในหมู่บ้าน อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทักษะการควบคุมโรคในผู้ป่วย 0 33,900.00 -
1 พ.ค. 62 - 31 ก.ค. 62 ติดตามเชิงรุกวัดความดันเลือด/ตรวจน้ำตาลทุก 1 เดือน 3 เดือน ในรายที่ควบคุมโรคไม่ได้โดยแกนนำ ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนแบบบูรณาการ ติดตามประเมินผล 0 4,800.00 -
  1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการฯ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ควบคุมโรคไม่ได้ ขาดนัด
  3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  4. ประชุมชี้แจงเพื่อวางแนวทางแก้ปัญหา
  5. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรัง
  6. เยี่ยมบ้านประเมินปัญหาร่วมกับทีมสุขภาพ
  7. อบรมพัฒนาแกนนำโรคเรื้อรัง
  8. อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทักษะการควบคุมโรค
  9. ติดตามเชิงรุกวัดความดันโลหิต/ตรวจน้ำตาลทุก 1 เดือน 3 เดือน ในรายที่ควบคุมโรคไม่ได้
  10. ติดตามประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคได้
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง
  3. ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มารับยาต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 13:50 น.